อัญมณีแห่งโชคลาภ
อัญมณี (Gems) คือวัตถุธรรมชาติที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลก มีคุณสมบัติสำคัญคือ สวยงาม คงทนถาวร และหายาก อัญมณีส่วนใหญ่จะเป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุชนิดต่างๆ เป็นหิน หรือแร่บางชนิด ที่เกิดอยู่ใต้ชั้นผิวโลก นอกจากนี้อาจเกิดสารอินทรีย์บางชนิด ได้แก่ ไข่มุก อำพัน เป็นต้น อัญมณีธรรมชาติได้มาจากการขุดขึ้นมาหรือค้นพบ แล้วนำมาตกแต่ง ขัดมัน เจียระไน แกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีมูลค่า ใช้เป็นเครื่องประดับได้ ในอดีตหากย้อนไปกว่า 5,000 ปี ถึงปัจจุบัน อัญมณีนอกจากจะเป็นเครื่องประดับเพื่อความสวยงามแล้ว ยังแสดงถึงความมีฐานะ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมีอำนาจบารมีทางการปกครอง การเมือง ทางศาสนา อีกทั้งยังนำมาใช้เป็นเครื่องรางแห่งอำนาจ ความเชื่อ โชคลาภ และป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ได้อีกด้วย
อัญมณีในประวัติศาสตร์โลก
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่มีมาหลายพันปี หลายครั้งจะกล่าวถึงการใช้อัญมณี เช่น โลกตะวันตก ในยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 3,150 ปีก่อนคริสตกาล หญิงงามจะคาดมงกุฎประดับไข่มุกที่หน้าผากและพันคอ 4 รอบด้วยสร้อยทำจากอัญมณีมีค่า ส่วนผู้ชายมักนิยมใส่แหวนที่ทำจากอัญมณีหลาย ๆ วงในนิ้วต่าง ๆ , ในยุคกรีกโบราณ ประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ทรงนิยมฉลองพระองค์ด้วยเครื่องประดับและแหวนที่ทำจากอัญมณีที่เจียระไนแล้ว
ช่วงคลาสสิกในยุคกรีกโบราณ ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล แอริสตอเติล ผู้เป็นศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องอัญมณีแห่งยุคสมัย ได้กล่าวถึงพลังของอัญมณี ซาร์ด (Sard) , แจสเปอร์ (Jasper) และมรกต , ในสมัยจูเลียสซีซาร์ และพระนางคลีโอพัตรา ทรงล้วนโปรดปราณในโทปาส (Topaz) และมรกต ประดับบนตัวเรือนทองคำ , ในช่วงต้นคริสตจักร บาทหลวงและนักบวชกล่าวขานกันว่า ได้สัมผัสประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์จากพลังอำนาจของอัญมณีสำคัญ 23 รายการในพระคัมภีร์ไบเบิล (
Gemstones in the Bible)
อัญมณีในอินเดียโบราณ
ในโลกตะวันออกแถบอินเดียโบราณ ถือเป็นจุดกำเนิดอารยธรรมหลักของภูมิภาคนี้ การเลือกและการตรวจสอบอัญมณีมีฐานะเป็น "ศาสตร์" คือเป็นวิทยาการแขนงหนึ่งใน 64 ศิลปศาสตร์ มีคัมภีร์โบราณมากมายที่กล่าวถึงเรื่องอัญมณี แบ่งกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คัมภีร์อัญมณีศาสตร์ (Gemology) เนื้อหาจะบรรยายวิธีการคัดสรร คุณลักษณะภายนอก สีสัน ความสวยงาม ลักษณะพิเศษ ดาวประจำอัญมณี มีบางคัมภีร์ได้กล่าวถึงพลังอำนาจของอัญมณี อีกกลุ่มคือ คำภีร์โหราศาสตร์ (Astrology) ที่กล่าวถึงอัญมณี วิธีใช้และผลของการใช้อัญมณี
คัมภีร์อัญมณีศาสตร์
• คัมภีร์รัตนปรีกษา (
Ratna Pariksha) โดยท่าน พุทธะ พัทธ์ (Buddha Bhatt) พ.ศ.220-244 / 323-299 ปีก่อนคริสตกาล
• คัมภีร์พระครุฑโบราณ (
Garuda Purana) โดย พระสูตต์ โคสวามี (Sri Suta Goswami) เป็น 1 ใน 18
คัมภีร์ปุราณะ ของฮินดู พ.ศ.943 / ค.ศ.400
• คัมภีร์อัคนีโบราณ (
Agni Purana) เป็น 1 ใน 18 คัมภีร์ปุราณะของฮินดู บัญญัติไว้ครั้งบุรพกาล พ.ศ.843-1543 / ค.ศ.300-1000
• คัมภีร์มณีมาลา (
Mani-mala) โดยท่าน ซรินดรา โมฮัน ทากอร์ (Sourindra Mohun Tagore) พ.ศ.2383-2457 / ค.ศ.1840-1914
คำภีร์โหราศาสตร์
• คัมภีร์นารดาโบราณ (
Narada Purana) โดยท่าน มหาฤาษีนารดา (Narada) เป็น 1 ใน 18
คัมภีร์ปุราณะ ของฮินดู บัญญัติไว้ครั้งบุรพกาล พ.ศ.843-1543 / ค.ศ.300-1000
• คัมภีร์พฤหัสสัมหิตา (
Brihat Samhita) โดยท่าน วราหมิหิระ (Varahamihira) พ.ศ.1048-1130 / ค.ศ.505-587
• คัมภีร์พฤหัสชาดก (
Brihat Jataka) โดยท่าน วราหมิหิระ (Varahamihira) พ.ศ.1048-1130 / ค.ศ.505-587
• คัมภีร์ชาดกปริชาติ (
Jataka Parijata) โดยท่าน ไวทฺยนาถ ทีกฺษิต (Vaidyanatha Dikshita) พ.ศ.1968 / ค.ศ.1425
• คัมภีร์มหุรตะ จินตะมณี (Muhurta Chintamani) พ.ศ.2143 / ค.ศ.1600
บางส่วนบางตอน บางโศลกจากคัมภีร์ที่กล่าวถึงอัญมณี แปลจากภาษาสันสกฤต หรือภาษาต้นฉบับ ดังนี้
โศลกจาก คัมภีร์รัตนปรีกษา ซึ่งเป็นคัมภีร์ด้านอัญมณีที่เก่าแก่ที่สุด เขียนโดยท่าน พุทธะ พัทธ์ ซึ่งเป็นชาวพุทธ กล่าวถึงอัญมณีที่ค้นพบในแถบอินเดียโบราณและบริเวณใกล้เคียง จำนวน 84 ชนิด (ปัจจุบันมีการค้นพบอัญมณีทั่วโลกกว่า 7,000 ชนิด) โดยอัญมณีที่ค้นพบนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
มหารัตน์ (Maha-Ratna)
คือ อัญมณีหลัก ประกอบด้วยอัญมณี 22 ประการ ได้แก่
1. พัชร (Vajra) คือ เพชร
2. อินทรานิล (Intranila) คือ ไพลิน
3. มรกต (Marakata)
4. การเกดร์ (Karketara) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ เซอร์คอนสีต่างๆ (Zircon)โดยเฉพาะสีเขียว ส่วนผู้แปลพระครุฑโบราณบางท่านว่าเป็นเฮสโซไนท์ (Hessonite)
5. ปัทมราช (Padmaraga) คือ ทับทิม
6. รุธิรา,รุธิรัคยา (Rudhira,Rudhirakhya) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ อาเกดแดงหรือคาร์เนเลี่ยนแดง (Red Agate Or Red Carnelian)
7. ไพฑูรย์ (Vaidurya) เชื่อกันว่าคือเฉพาะพลอยไพฑูรย์ตาแมว แต่ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ พลอยไพฑูรย์ทุกชนิดด้วย
8. ปุลัก (Pulaka) คือ โกเมนทุกสี (Garnet) เน้นที่โกเมนสีน้ำตาล
9. วิมาลก (Vimalaka) คือ ไพไรท์ (Pyrite) ทั้งสีเทาเงินและสีเทาทอง
10. ราชามณี (Rajamani) คือ เพชรเหลือง เพชรแดง และเพชรแดงน้ำตาล ซึ่งเหมาะเฉพาะกับวรรณกษัตริย์เท่านั้น หรือ อำพัน (Amber) ที่เน้นสีแดงปนน้ำตาลปนเหลืองสำหรับใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
11. สภาถิข์ (Sphatika) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ หินพระอาทิตย์ (Sunstone) ส่วนผู้แปลมณีมาลาบางท่านว่าเป็นควอตซ์ (Quartz)
12. ศศิกานต์ (Sasikanta) คือ หินพระจันทร์ (Moonstone) เน้นสีขาว
13. โสคันธิกา (Saugandhika) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ สปิเนลต่างๆ (Spinel) เน้นสีน้ำตาลอมแดง ส่วนผู้แปลพระครุฑโบราณบางท่านว่าเป็นทับทิมสีดอกบัว
14. โกเมด (Gomed) คือ เฮสโซไนท์ (Hessonite) หรือ กรอสซุล่าไรท์สีเทา (Grey Grossularite)
15. สังข์ (Sankha) คือ เปลือกหอยสังข์หรือไข่มุกหอยสังข์ [จากมณีมาลา ภาค 1 โศลกที่ 270 หน้า 289]
16. มหานิล (Mahanila) คือ ไอโอไลท์ (Iolite)
17. บุษบาราช (Pushparaga) คือ บุษราคัม
18. พราหม-มณี (Brahmamani) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ มณีขาวใส อาจหมายถึงไวท์ควอตซ์ (White Quartz) หรือพีนาไคท์ (Phenakite)
19. ชโยติรส (Jyotirasa) คือ หินเลือดประ (Blood Stone) [จากมณีมาลาภาค 2 โศลกที่ 2 หน้า 509]
20. ษาสยากะ (Sasyaka) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ ไคยาไนท์ (Kyanite) เน้นที่สีเขียว หรือเพอริด็อท (Peridot)
21. มุกดา (Mukta) คือ ไข่มุก
22. ประวาล (Pravala) คือ ปะการังแดง
อุปรัตน์ (Upa-Ratna)
คือ อัญมณีรอง มี 62 ประการ แต่ไม่มีคัมภีร์ใดกล่าวถึงชื่อ หรือบอกลักษณะของอัญมณีในกลุ่มนี้ไว้
โดยสรุปเนื้อหาใน คัมภีร์รัตนปรีกษา และ คัมภีร์พฤหัสสัมหิตา จะกล่าวถึงอัญมณีมหารัตน์ครบ 22 ชื่อ ส่วนคัมภีร์พระครุฑโบราณ (อัธยายที่ 68-80) กล่าวไว้ 13 ชื่อ และ คัมภีร์มณีมาลา กล่าวไว้ 16 ชื่อ พบว่าการตีความชื่ออัญมณีโบราณ แปลจากภาษาสันสกฤต เป็นภาษาอังกฤษ เป็นชื่ออัญมณีปัจจุบัน บางอัญมณีอาจเห็นต่างกับผู้แปลท่านอื่นบางท่าน เพราะการสืบค้นสีอัญมณีตามคำบรรยายในคัมภีร์ ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องอัญมณีวิทยา ธรณีวิทยาและแร่วิทยา ซึ่งผู้แปลแต่ละท่านอาจมีพื้นฐานต่างกัน
จาก อัญมณีมหารัตน์ 22 ประการ จะมีอัญมณี 9 ประการ ที่เรียกว่า นวรัตน์ (Navaratna) ใช้แทนดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 ทางโหราศาสตร์ สรุปความตามคัมภีร์ดังนี้
โศลกจาก คัมภีร์พฤหัสชาดก โดยท่าน วราหมิหิระ
Manikyam Dinanayakasya Vimalam Muktaphalam Sheetagau Mahedrasya Vidrumam Marathakam Soumyasya Garutmakam Devejyasya cha pushyaragam, Asuracharyasya Vajram Sanair Neelam; Nirmalamanya gadithe Gomeda Vaiduryakai
มณีพระอาทิตย์คือทับทิมบริสุทธิ์ มณีพระจันทร์คือไข่มุกที่เกิดเองตามธรรมชาติ มณีพระอังคารคือปะการังแดง มณีพระพุธคือมรกต มณีพระพฤหัสคือบุษราคัม มณีพระศุกร์คือเพชร มณีพระเสาร์คือไพลิน มณีพระราหูคือโกเมด และมณีพระเกตุคือไพฑูรย์ตาแมว
โศลกจาก คัมภีร์ชาดกปริชาติ โดยท่าน ไวทฺยนาถ ทีกฺษิต อัธยายที่ 2 โศลกที่ 21 หน้า 36-37 และ คัมภีร์มณีมาลา หน้า 575 โศลกที่ 79
माणिक्यं तरणेः सुजात्यममलं मुक्ताफलं शीतगोः माहेयस्य च विद्रुमं मरकतं सौम्यस्य गारुत्मतम देवेज्यस्य च पुष्पराजमसुराचार्यस्य वज्रं शनेः नीलं निर्मलमन्ययोश्च गदिते गोमेदवैदूर्यके
Manikyam Taraneh Sujatyamamalam Muktaphalam Shitagoh Maheyasya cha Vidrumao Nigaditah Saumyasya-Garutmakam Devejyasya cha Pushparagam Asura-Achryasya Vajram Shaneh Nilam Nirmalamanyayoshcha Gadite Gomeda-Vaiduryake
ทับทิม เพื่อ พระอาทิตย์ , ไข่มุก เพื่อ พระจันทร์ ,ปะการัง เพื่อ พระอังคาร , มรกต เพื่อ พระพุธ , บุษราคัม เพื่อ พระพฤหัสบดี , เพชร เพื่อ พระศุกร์ , ไพลิน เพื่อ พระเสาร์ , โกเมด เพื่อ พระราหู , ไพฑูรย์ เพื่อ พระเกตุ รัตนชาติ ดังกล่าวนี้ ต้องคุณภาพสูงและปราศจากตำหนิ
โศลกจาก คัมภีร์พฤหัส ปะระสาระ โหราศาสตร์ โดยท่านมหาฤาษีปะระสาระ เรื่องธรรมชาติและรูปแบบของครห (Grahas) ในอัธยายที่ 3 โศลกที่ 41-44
Lead and blue gem belong to Rahu and Ketu
ตะกั่วและมณีสีน้ำเงิน เป็นของ พระราหูและพระเกตุ ตามลำดับ
ส่วนอัญมณีอีก 13 ประการที่เหลือ คือ อัญมณีแทน 12 ราศี เฉพาะราศีพิจิก จะมี 2 อัญมณี (เพราะมีราศีคนแบกงูแฝงอยู่ด้วย) , บางคัมภีร์ใช้อัญมณีแทน 12 ราศี และอีก 1 อัญมณีแทนลัคนา
ราศีเมษ : รุธิรา, รุธิรัคยา (Rudhira, Rudhirakhya) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ อาเกดแดงหรือคาร์เนเลี่ยน (Red Agate Or Red Carnelian)
ราศีพฤษภ : พราหม-มณี (Brahmamani) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ มณีขาว อาจหมายถึงไวท์ควอตซ์ (White Quartz) หรือพีนาไคท์ (Phenakite)
ราศีมิถุน : ษาสยากะ (Sasyaka) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ ไคยาไนท์ (Kyanite) เน้นที่สีเขียว หรือกลุ่ม Olivine เน้นเพอริด็อท (Peridot)
ราศีกรกฎ : สังข์ (Sankha) คือ เปลือกหอยสังข์ หรือไข่มุกหอยสังข์ [จากมณีมาลา ภาค 1 โศลกที่ 270 หน้า 289] = Violet Conch
ราศีสิงห์ : วิมาลก (Vimalaka) คือ ไพไรท์ (Pyrite) ทั้งสีเทาเงินและสีเทาทอง
ราศีกันย์ : การเกดร์ (Karketara) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ เซอร์คอนต่างๆ เน้นที่สีเขียว (Green Zircon)
ราศีตุล : มหานิล (Mahanila) คือ ไอโอไลท์ (Iolite)
ราศีพิจิก : สภาถิข์ (Sphatika) คือ หินพระอาทิตย์ (Sunstone) และโสคันธิกา (Saugandhika) ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า คือ สปิเนลต่างๆ (Spinel) เน้นสีน้ำตาลอมแดง
ราศีธนู : ราชามณี (Rajamani) คือ เพชรเหลือง เพชรแดง และเพชรแดงน้ำตาล ซึ่งเหมาะเฉพาะกับวรรณกษัตริย์เท่านั้น หรือ อำพัน (Amber) ที่เน้นสีแดงปนน้ำตาลปนเหลืองสำหรับใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
ราศีมกร : ชโยติรส (Jyotirasa) คือ หินเลือดประ (Blood Stone) [จากมณีมาลา ภาค 2 โศลกที่ 2 หน้า 509]
ราศีกุมภ์ : ปุลัก (Pulaka) คือ โกเมนทุกสี (Garnet) เน้นที่โกเมนสีน้ำตาล
ราศีมีน : ศศิกานต์ (Sasikanta) คือ หินพระจันทร์ (Moonstone) เน้นสีฟ้า
อัญมณีประจำ 12 ราศีนี้ ใช้ได้สำหรับดวงชะตาที่ทราบเวลาเกิด คำนวณหาลัคนาได้แน่นอน หรือ ไม่ทราบเวลาเกิดแน่นอน แต่ทราบตำแหน่ง จันทร์(๒) หรือ อาทิตย์(๑) กำเนิด
การเลือกอัญมณีทั่วไป
การพิจารณาตรวจสอบ การเลือกอัญมณี จะมีข้อกำหนดหลักคือ อัญมณีต้องบริสุทธิ์เท่านั้น สรุปความตามคัมภีร์ดังนี้
โศลกจาก คัมภีร์พระครุฑโบราณ โดย พระสูตต์ โคสวามี อัธยายที่ 68 โศลกที่ 17 กล่าวดังนี้
Pure, clean, and flawless gems have auspicious powers which can protect an individual from demons, snakes, poisons, diseases, sinful reactions, and other dangers ; while the flawed stones have the opposite effect on an individual.
รัตนชาติบริสุทธิ์ ปราศจากตำหนิ กอปรพลานุภาพที่มีสิริมงคล สามารถปกป้องคุ้มครองจากภยันตราย, อวิชา, งู, ยาพิษ, ความหายนะ และผลกรรมสนอง ในขณะชิ้นที่มีตำหนิจะส่งผลตรงข้าม
โศลกจาก คัมภีร์อัคนีโบราณ 1 ใน 18 คัมภีร์ปุราณะของฮินดู อัธยายที่ 246 โศลกที่ 7-8 กล่าวดังนี้
A gem free from all impurities and radiating its characteristic through an internal shine and lustre should be looked upon as an escort of good luck and a gem which is cracked, fissured, devoid of shine and lustre or appearing rough and sandy, must not be used at all.
รัตนชาติปราศจากราคินและเปล่งประกายที่สะท้อนถึงความแวววาวรุ่งเรือง ควรถือเป็นสื่อนำซึ่งความโชคดี ส่วนชิ้นที่เกิดตำหนิข้างใน, แตกร้าว และไร้ความสุกใสแวววาวหรือขุ่นมัว ขรุขระ หยาบด้าน ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด
โศลกจาก คัมภีร์มณีมาลา โดยท่าน ซรินดรา โมฮัน ทากอร์ หน้า 575 โศลกที่ 79
These gems must be high-born and flawless.
อัญมณีที่ดีต้องมีชาติกำเนิดที่ดี สวยโดยธรรมชาติ บริสุทธิ์ ไร้มลทิน ไร้ตำหนิ ไม่มีที่ติ
การเลือกอัญมณีจากโศลกใน คัมภีร์ชาดกปริชาติ และ คัมภีร์มณีมาลา ข้างต้น คำว่า สุชาตฺยมมลํ (Sujatyamamalam) อ่านว่า สุจัทยัม-อมาลัม (สุชาติ: ชาติกำเนิดดี, และ อมลา: บริสุทธิ์ ไร้มลทิน ไม่มีที่ติ)
การเลือกอัญมณีทางโหราศาสตร์
หลักโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ (Vedic/Jyotish Astrology) หรืออินเดียโบราณ เชื่อว่าชีวิตบนโลกล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวนพเคราะห์ หรือ ดาวทั้ง 9 ดวง ในทางโหราศาสตร์ ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของดาวเหล่านั้นในดวงชะตาของแต่ละบุคคล จะส่งอิทธิพลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของบุคคลนั้น ๆ กล่าวกันว่าการสวมใส่อัญมณีที่บริสุทธิ์เหมาะสมถูกต้อง ในแต่ละช่วงเวลา จะช่วยให้อิทธิพลดวงดาวทางโหราศาสตร์มีความสมดุล มีสิริมงคล นำโชคลาภวาสนามาสู่ผู้สวมใส่ , ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของอินเดียโบราณและฮินดู มีอยู่เพียงไม่กี่ฉบับที่แนะนำให้ใช้อัญมณีเพื่อการแก้ดวงชะตา เช่น
การใช้อัญมณีจาก คัมภีร์นารดาโบราณ 1 ใน 18 คัมภีร์ปุราณะของฮินดู โดยท่าน มหาฤาษีนารดา
"The loss and gain depends upon the planets. Hence one should placate them with effort when they start giving untoward fruit (viparita-phala). For placating the sun and others one should wear in the order of ruby for Sun, pearl for Moon, Coral for Mars,. Emerald for Mercury, Yellow Sapphire for Jupiter, Diamond for Venus, Blue Sapphire for Saturn, Gomeda for Rahu and Cat’s Eye Gem for Ketu."
Hence, horoscope and planets can be managed with gemstone under the guidance of gemologist.
"การสูญเสียหรือการได้มาต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับพระเคราะห์ ดังนั้นเจ้าชะตาจึงควรปลอบโยนพระเคราะห์ด้วยความตั้งใจ โดยเฉพาะเวลาที่พระเคราะห์เริ่มให้เคราะห์ร้าย (วิปริตพละ) สำหรับการปลอบโยนพระอาทิตย์และดาวอื่น ๆ เจ้าชะตาควรสวมใส่มณีตามลำดับดังนี้ ทับทิมสำหรับพระอาทิตย์ ไข่มุกสำหรับพระจันทร์ ปะการังแดงสำหรับพระอังคาร มรกตสำหรับพระพุธ บุษราคัมสำหรับพระพฤหัสบดี เพชรสำหรับพระศุกร์ ไพลินสำหรับพระเสาร์ โกเมดสำหรับพระราหู และไพฑูรย์ตาแมวสำหรับพระเกตุ"
ดังนั้น ดวงชะตาราศีและดาวเคราะห์สามารถได้รับการจัดการเป็นมณีให้ใช้ตามคำแนะนำของโหรนักอัญมณี
การใช้อัญมณีจาก คัมภีร์มหุรตะ จินตะมณี ซึ่งเป็นคัมภีร์โหราศาสตร์ กล่าวถึงอัญมณีในหัวข้อ การโคจรผ่าน การย้าย (Transits)
In which it is stated that the same gems as recommended associated in Jataka Parijata should be worn to please a planet.
อัญมณีชนิดเดียวกันกับที่แนะนำในชาดกปริชาติ ควรนำมาสวมใส่เพื่อเอาใจพระเคราะห์
ในส่วนคำภีร์โหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ ตั้งแต่ยุคอินเดียโบราณมีผู้เขียนหลายท่าน คำภีร์ที่เก่าแก่ได้รับความนิยมและได้การยอมรับมากที่สุด มาจากผู้เขียน 2 ท่าน คือ ท่านวราหมิหิระ และ ท่านมหาฤาษีปะระสาระ
ท่านวราหมิหิระ
ท่านมหาฤาษีปะระสาระ
พระสูตต์ โคสวามี
ท่านวราหมิหิระ เป็น นักคณิตศาสตร์ นักปราชญ์ทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ท่านได้เรียบเรียงคำภีร์โหราศาสตร์และดาราศาสตร์สำคัญไว้ 5 เล่ม รวมเรียกว่า ปัญจสิทธานติกา (Pancha Siddhantika) เล่มหลักที่รู้จักกันดีในหมู่นักโหราศาสตร์ คือ คัมภีร์สุริยสิทธานตะ (Surya Siddhanta) นอกจากนี้ยังมีคำภีร์อื่น ๆ อีกหลายคัมภีร์ เฉพาะที่ท่านวราหมิหิระกล่าวถึงอัญมณีมี 2 คัมภีร์ คือ คัมภีร์พฤหัสชาดก มีโศลกสั้น ๆ กล่าวถึง อัญมณีวิทยาทั่วไป ส่วนคัมภีร์พฤหัสสัมหิตา มีโศลก กล่าวถึงการเลือกการใช้อัญมณีและผลทางโชคลาภ ท่านจะเน้น "อัญมณีสด" คืออัญมณีที่สวยงามตั้งแต่เกิด สีสดใส สะอาด ไร้มลทิน ไม่ผ่านการแต่งสีให้สวยงาม เช่น เผา อาบรังสี อัดแก้ว หรือโดยฝีมือมนุษย์
โศลกจาก คัมภีร์พฤหัสสัมหิตา โดยท่าน วราหมิหิระ
A gem having a good lustre pure and clean colour and flawless ensures good luck and fortune.
อัญมณีที่มีไฟดี บริสุทธิ์ มีสีใสสะอาด และปราศจากมณทิน รับประกันว่าให้โชคชะตาดีแน่นอน
อีกท่านคือ ท่านมหาฤาษีปะระสาระ ผู้เขียนคัมภีร์โหราศาสตร์ฉบับแรกที่ดีที่สุด ท่านได้เรียบเรียง คัมภีร์พฤหัส ปะระสาร มีบางส่วนบางตอนกล่าวถึงชื่ออัญมณีแทนดาว และการอ่านดวงชะตาโดยใช้ ทศา (Dasha)
โศลกจาก คัมภีร์พฤหัส ปะระสาระ โหราศาสตร์ โดยท่านมหาฤาษีปะระสาระ
Ruby: A gem presumably allocated to the planet Sun.
ทับทิม: อัญมณีที่อนุมานว่าให้เป็นตัวแทนของพระอาทิตย์
Verse: 87-98. Effects of Guru's Avasthas … Guru (God of speech) in the matter of speech, will be endowed with superior corals, rubies and wealth, will be rich with elephant
โศลกที่ 87-98 ผลที่ตามมาของคุรุอวัสตะ...คุรุ (เทพแห่งคำพูด) ในเรื่องของคำปราศรัย จะบรรดาลให้มีประการังชั้นเลิศ ทับทิม และความมั่งคั่ง จะร่ำรวยไปด้วยช้าง
Pearl: A gem presumably allocated to the planet Moon.
ไข่มุก: อัญมณีที่อนุมานว่าให้เป็นตัวแทนของพระจันทร์
Ch. 33. Effects of Karakans, Verse: 2-8. Karakans in Various Rasis. If Atma Karak happens to be in Mesh Navans, there will be 1 nuisance from rats and cats at all times. A malefic joining will further increase the nuisance. Should Atma Karak be in Vrishabh Navans, happiness from quadrupeds will result. Should Atma Karak be in Mithun Navans, the native will be afflicted by itch etc. Should Atma Karak be in Kark Navans, there will be fear from water etc. If Atma Karak happens to be in Simh Navans, fear will be from tiger etc. If Atma Karak happens to be in Kanya Navans, itch, corpulence, fire etc. will cause trouble, while, if Atma Karak is in Tula Navans, he will make one a trader and skilful in making robes etc. Vrischik Navans, holding Atma Karak, will bring troubles from snakes etc. and also affliction to mother’s breasts. There will be falls from height and conveyances etc., if it is Dhanu Navans, that is occupied by Atma Karak. Makar Navans in this respect denotes gains from water dwelling beings and conch, pearl, coral etc. If it is Kumbh Navans, holding Atma Karak, the native will construct tanks etc. And in Meen Navans the Atma Karak will grant final emancipation. The Drishti of a benefic will remove evils, while that of a malefic will cause no good.
อัธยายที่ 33 ผลของการะกัน โศลกที่ 2-8 การกันในราศีต่างๆ ถ้าอัตมะการกไปเกิดขึ้นในนวางค์เมษ จะมีหนูและแมวสร้างความรบกวนอยู่ตลอดเวลา และถ้ามีดาวร้ายร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มความรบกวน ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์พฤษภ จะได้รับความสุขจากสัตว์สี่เท้า ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์มิถุน เจ้าชะตาจะได้รับความเจ็บป่วยจากอาการคัน ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์กรกฎ จะกลัวน้ำ ถ้าอัตมาะการกอยู่ในนวางค์สิงห์ จะกลัวเสือ ถ้าอัตมะการกอยู่นวางค์กันย์ จะได้รับปัญหาจากอการคัน ความอ้วน ไฟ เป็นต้น ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์ตุล จะได้เป็นพ่อค้าที่ชำนาญเรื่องผ้าคลุมกาย ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์พิจิก จะได้รับความเดือดร้อนจากงูและแม่จะเจ็บป่วยบริเวณทรวงอก ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์ธนู เจ้าชะตาจะตกจากที่สูงและยานพาหนะ เป็นต้น ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์มกร จะได้รับสิ่งมีชิวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ อาทิ หอยสังข์ ไข่มุก และปะการัง เป็นต้น ถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์กุมภ์ เจ้าชะตาจะก่อสร้างแท็งค์บรรจุน้ำ เป็นต้น และถ้าอัตมะการกอยู่ในนวางค์มีน จะได้รับการปลดปล่อยอิสระตลอดไป ซึ่งทริสติของดาวดีจะขจัดมารร้าย ในขณะที่ถ้าเป็นของดาวร้ายจะก่อให้เกิดเรื่องที่ไม่ดี
Ch. 33. Effects of Karakans, Verse: 65-68. Marriage and happiness, as desired from wife, gain of property, travels to other places, meeting with Brahmins and the king, acquisition of kingdom, riches, magnanimity and majesty, auspicious functions at the home, availability of sweet preparations, acquisition of pearls and other jewels, clothes, cattle, wealth, grains and conveyances, enthusiasm, good reputation etc. are the auspicious effects of the Antar Dasha of Sukr in the Dasha of Surya, if Sukr is placed in a Kendr, or in a Trikon, or, if Sukr is in his exaltation Rasi, in his own Rasi, in his own Varg, or in a friendly Rasi.
อัธยายที่ 33 ผลของการะกัน โศลกที่ 65-68 การแต่งงานและความสุข ตามประสงค์ของภรรยา การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ การเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ พบปะนักบวชและพระราชา การได้มาซึ่งอาณาจักร ความร่ำรวย ความมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความสง่าผ่าเผย จัดพิธีมงคงที่บ้าน เตรียมความพร้อมเรื่องขนมหวาน การได้มาซึ่งไข่มุก เครื่องประดับต่างๆ เสื้อผ้า โคกระบือ ความมั่งคั่ง ธัญพืช ยานพาหนะ ความกระตือรือร้น และกิตติศัพท์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่เป็นมงคลของอันตรทศา ที่พระศุกร์เป็นทศาของพระอาทิตย์ ถ้าพระศุกร์อยู่ในภพเกณฑร์หนือภพตรีโกณ หรือถ้าพระศุกร์ไปเป็นอุจจ์ในราศี หรืออยู่ในราศีของตัวเอง หรืออยู่ในวรรคของตัวเอง หรืออยู่ในราศีคู่มิตร
Ch. 53. Effects of the Antar Dashas in the Dasha of Candra , Verse: 42-43?. Effects, like marriage, oblations (Yagya), charities, performance of religious rites, close relations with the king, social contacts with men of learning, acquisition of pearls, corals, Mani (jewels), conveyances, clothes, ornaments, good health, affections, enjoyments, drinking of Soma Rasa and other tasty syrups etc. will be derived in the Antar Dasha of Budh, if he is in a Kendr, or in a Trikon, or in the 11th, or in the 2nd from the Lord of the Dasha.
อัธยายที่ 53 ผลที่เกิดขึ้นของ อัตราทศา ในทศาของจันทร์ , โศลกที่ 42-43? ผลที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การแต่งงาน การเซ่นไหว้บูชา การสังคมสงเคราะห์ การแสดงพิธีกรรมทางศาสนา สร้างความสัมพันธ์กับพระราชา ติดต่อสัมพันธ์กับผู้รู้ การได้มาซึ่ง ไข่มุก ปะการัง มณีต่างๆ ยานพาหนะ เสื้อผ้า เครื่องประดับ สุขภาพดี ความรักใคร่ ความเพลิดเพลิน การดื่มโสมราสะ และน้ำเชื่อมอร่อยๆต่างๆ เป็นต้น จะได้มาในช่วง อันตราทศาของพระพุธ ถ้าเป็นเกณฑร์ หรือเป็นตรีโกณ หรืออยู่ในภพที่ 11 หรือ 2 จากเจ้าทศาเสวย
อัญมณีในประเทศไทย
อัญมณีในประเทศไทย เป็นเครื่องรางแห่งโชคลาภอำนาจความเชื่อได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณโดยตรง ผ่านมาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยบทบาทของพราหมณ์ราชสำนัก ในยุคสมัยนั้น เช่นเดียวกับภาษา ศิลปะกรรมต่าง ๆ พิธีกรรม โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์
สำหรับในประเทศไทย มีการใช้อัญมณี "นพรัตน์" มาหลายร้อยปีเช่นกัน นพรัตน์ ประกอบด้วยอัญมณี 9 ประการ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ อันถือเป็นชุดอัญมณีสำคัญชั้นสูง มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ใช้เป็นเครื่องสำหรับพิชัยสงครามและสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 , รัชกาลที่ 4 , 5 และ 6 ได้โปรดเกล้าให้ทรงจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) ได้แก่ มหานพรัตน์ ดารานพรัตน์ และ แหวนนพรัตน์ เพื่อทรงใช้ และเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่พระบรมวงศานุวงศ์ หรือบุคคลสำคัญ
นอกจากนี้ "นพรัตน์" ยังเป็นส่วนหนึ่งของ ชื่อ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพ ฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 พระราชทานนาม โดยทรงเปรียบเทียบเมืองหลวงของไทยนี้ดั่งเมืองในสรวงสวรรค์แห่งเทพ
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์
ในส่วนตำราอัญมณีของไทยหรือที่เรียกว่า "ตำรานพรัตน์" มีใจความสำคัญว่าด้วยการพิจารณาลักษณะของอัญมณี 9 ประการ เอกสารโบราณในหมวดตำรา นพรัตน์ที่พบในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาไม่แตกต่างกันมากนัก มีฉบับที่สำคัญ ได้แก่
1. ตำรารัตนสาตร์จบบริบูรณ์ เป็นสมุดไทยดำที่หอสมุดแห่งชาติ ได้มาจากกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.2482 / ค.ศ.1939 ปีที่จดจารนั้นไม่ได้ระบุไว้ สำนวนเป็นร้อยแก้วอธิบายลักษณะของอัญมณี 8 ชนิด ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพฑูรย์ ไข่มุก นิล มรกต บุษราคัมและโกเมน ตอนท้ายมีคำกลอนเกี่ยวกับการเลือกใช้อัญมณีให้สมพงศ์กับปีเกิด และคำกลอนชื่ออัญมณี 9 ประการ
นพรัตน์/นวรัตน์ อัญมณี 9 ประการ
คัมภีร์ปาริชาตชาดก อัธยายที่ 2 โศลกที่ 21 หน้า 36-37
ลิลิตตำรานพรัตน์ หน้า 100
2.
ตำรานพรัตน์ (ฉบับร้อยแก้ว) เป็นผลงานการสอบสวนและชำระต้นฉบับตำรานพรัตน์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อยังเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี พร้อมด้วยพระมหาวิชาธรรม หลวงลิขิตปรีชา หลวง ภักดีจินดาและนายชม เพื่อนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย สำเนาหนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2464 / ค.ศ.1921 เพื่อแจกในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ 60 พระพรรษาของ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี ตำรานพรัตน์ฉบับนี้นับว่าแพร่หลายมากที่สุดเพราะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำอีกหลายครั้ง ในหลายวาระ
3. ตำราว่าด้วยที่เกิดนวรัตน์ ผู้แต่งคือหลวงนรินทราภรณ์ ช่างทอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตำราฉบับนี้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2353 / ค.ศ.1810 อันเป็นช่วงระหว่างที่ผู้แต่งปฏิบัติงานสร้างพระเครื่องเบญจาทองคำในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะคำประพันธ์เป็นลิลิตจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "
ลิลิตตำรานพรัตน์" ในการเรียบเรียงได้สอบทานกับตำรานพรัตน์ ฉบับอื่นๆ อีก 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับของหลวงนรินทราภรณ์กับหมื่นมณีรักษา, ฉบับหลวงซึ่งเก็บรักษาในตู้เจียระไน, ฉบับหลวงเทพนาจารย์, ฉบับหมื่นแก้ว นายช่างเจียระไน, ฉบับนายดิน ช่างเจียระไนเพชร, และฉบับนายดี ช่างทองเชลยศักดิ์ (บุญเตือน ศรีวรพจน์, พ.ศ.2542 / ค.ศ.1999) เพื่อมุ่งให้เป็น "ตำราแบบฉบับสำหรับพระนคร" ตำรานพรัตน์ฉบับลิลิตจึงมีความน่าเชื่อถือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฉบับร้อยแก้ว ความพิเศษของตำรานพรัตน์ฉบับนี้อยู่ที่การใช้ถ้อยคำสำนวนอันแสดงถึงความงดงามทางวรรณศิลป์ ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "วรรณคดี" อีกเรื่องหนึ่ง
4.
คัมภีร์ปาริชาตชาดก (พ.ศ.2515 / ค.ศ.1972) โดยท่าน พันเอก (พิเศษ) ประจวบ วัชรปาณ และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งแปลมาจาก คัมภีร์ชาดกปริชาติ ข้างต้น แปลความว่า
การจัดนพเคราะห์เทียบกับนวรัตน์ ท่านกำหนดไว้ดังนี้ คือ มาณิกะยำ ได้แก่ มณีกัยหรือทับทิม เป็นรัตนของอาทิตย์ มุกตาผะลำ คือ ไข่มุกขาวบริสิทธิ์ปราศจากตำหนิ เป็นรัตนของจันทร์ วิทรุมำ หรือ วิทรุม ได้แก่พวกหินปะการัง แก้วประวาล เป็นรัตนของอังคาร มาระกะตำหรือ มรกต เป็นรัตนของพุธ ปัษปะราคะมะ หรือ ปุษราคัม เป็นรัตนของพฤหัสบดี วัชรำ หรือวัชร ได้แก่เพชร เป็นรัตนของศุกร์ นีรลำ หรือ นิล เป็นรัตนของเสาร์ โคเมทะ หรือโกเมน เป็นรัตนของราหู ไวฑูรยะหรือไพทูรย์ ได้แก่เพชรตาแมว เป็นรัตนของเกตุ
5. บทกลอนรัตนชาติ เอกสารจากหอสมุดของสยามสมาคมฯ โดยครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ เพื่อใช้ร้องประกอบ ระบำนพรัตน์ ในละครนอก เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน ชมถ้ำ
เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ ฯ
อัญมณีในโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ
การจัดแบ่งอัญมณีประจำดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ทางโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ กับโหราศาสตร์ไทย จะมีอัญมณีที่ใช้เหมือนกันและต่างกันในบางดาวบางเงื่อนไข เช่น ในคัมภีร์พระเวท/ชโยติษ ใช้อัญมณีสีเลือดแทนพระอังคาร คือ ปะการังแดง เนื่องจากมีสีเหมือนเลือดมากที่สุด นพรัตน์ของไทยจะใช้โกเมน (Garnet) สีเลือดหมูแทน อาจเพราะในสมัยโบราณปะการังแดงหาได้ยาก , สำหรับพระราหูในคัมภีร์พระเวทใช้อัญมณีสีสุรา คือ โกเมด (Gomed) มีสีส้มอมแดงอมน้ำตาล ส่วนนพรัตน์ไทยใช้เพทาย (Zircon) แทน , บางตำราใช้ โกเมน (๓) แทน โกเมด (๘) และใช้ เพทาย (๘) แทน ปะการังแดง (๓) เป็นอัญมณีของคู่ศัตรูใช้สลับกันกับคัมภีร์พระเวท เป็นต้น
การใช้อัญมณีในไทยจะนิยมเลือกอัญมณี ตามวันเกิด, เดือนเกิด, ราศีเกิด, ปีนักษัตรเกิด, ดาวพระเคราะห์ตามตำรามหาทักษาเทวดาเสวยอายุ, อัญมณีแทนภพเกณฑ์ เรือนโกณ เรือนเกณฑ์ (การกะ) , เลือกอัญมณีทั้ง 9 ที่เรียกว่า "นพรัตน์" หรือวิธีอื่น ๆ ตามแต่สำนัก
นวรัตน์อัญมณีชั้นเอก 9 ประการ (พระเวท)
อัญมณีราศี (พระเวท)
เครื่องประดับ นวรัตน์ (พระเวท) ทับทิมอยู่ตรงกลาง
ทศา
ทศา (Dasha/Dasa) เป็นเครื่องมือหลักในโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ ที่ใช้ทำนายดวงชะตาจร และพิจารณาเลือกอัญมณี ทศามีหลายแบบ ที่นิยมใช้ที่สุดคือ
วิมโสตรีทศา (
Vimshottari Dasha) การคำนวณทศาจะใช้องศาของสมผุสจันทร์ (๒) กำเนิด หานักษัตรฤกษ์ (
Nakshatra) ทั้ง 27 หาเวลาฤกษ์และเวลาทศาเสวยแทรก ดังนั้นหากเจ้าชะตาเกิดห่างกันเพียงนาทีเดียว ช่วงเวลาทศาเสวยแทรกจะต่างกัน , การทำนายดวงชะตาอาจใช้ทศาเสวยแทรก 4-5 ระดับ ครอบคลุมช่วงไม่กี่นาทีได้ แต่การเลือกอัญมณีจะใช้ทศาเสวยแทรก 2 ระดับ คือ ดาวมหาทศาเสวย และ ดาวอันตรทศาแทรก เท่านั้น
ท่านมหาฤาษีปะระสาระ กล่าวถึง วิมโสตรีทศา ใน คัมภีร์พฤหัส ปะระสาระ โหราศาสตร์
Major Period/sub-period effects (Vimshottari)
Maharshi Parashara, who wrote the first great book on Astrology, says that Vimshottari Dasa sy.stem is the best; and only where it fails, should Kala Chakra Dasa be relied upon. Other Dasa sy.stem cannot stand in comparison with Vimshottari in many respects.
ผลที่เกิดขึ้นของ มหาทศา/อันตรทศา (วิมโสตรีทศา)
มหาฤาษีปาราสาระ ผู้เขียนคัมภีร์โหราศาสตร์ฉบับแรกที่ดีที่สุด กล่าวว่า ระบบวิมโสตรีทศาเป็นระบบที่ดีที่สุด หากแค่ถ้ามีจุดที่ขาดตกไปถึงค่อยใช้กาลจักรทศาเข้ามาช่วย ในประเด็นต่าง ๆ อีกมากมาย ทศาของระบบอื่น ๆ ไม่สามารถที่จะยืนเทียบชั้นระบบวิมโสตรีทศาได้เลย
การเลือกอัญมณีในโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ
การเลือกอัญมณีในโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ มีหลายวิธี สรุปได้ใน 2 ลักษณะดังนี้
1. อัญมณีทศา
เป็นอีกวิธีตามแนวทางของท่านวราหมิหิระ และท่านมหาฤาษีปะระสาระ กล่าวถึงในโศลกว่าใช้ ดาวมหาทศา (Lord of the Dasha) และ ดาวอันตรทศา (Antar Dasha) ใน ทศา มาพิจารณาเพื่อเลือกอัญมณี ดังข้างต้น กลุ่มอัญมณีที่ใช้กับทศาจะเป็นอัญมณีชั้นเอก 9 ประการ คือ นวรัตน์ (Navaratna) หรือ ใช้มณีรองจากใน 13 ประการได้เช่นกัน โดยเลือกเฉพาะชนิดที่มีสีเหมือนดาวเสวยแทรกตามในคัมภีร์ ฯ
การใช้อัญมณีทศา มีเงื่อนไขสำคัญคือ
ต้องทราบ วันเดือนปี เวลาเกิด และสถานที่เกิด ที่แน่นอนเท่านั้น
ในการใช้อัญมณีทศา จะมีช่วงเวลาในการใช้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเสวยแทรกของดาวพระเคราะห์สำคัญ อาจใช้เฉพาะอัญมณีตามดาวมหาทศา (ดาวเสวย) หรือร่วมกับ อัญมณีดาวอันตรทศา (ดาวแทรก) เมื่อเวลาเปลี่ยนดาวเสวยแทรกเปลี่ยน ต้องสลับสับเปลี่ยนอัญมณีตามดาวเสวยแทรกนั้น ๆ
ผลดีของผู้ใช้อัญมณีทศา จะได้รับ "คะระหะคุณ" (ครหคุณ) คือหมายถึง เสริมดวงชะตาทุก ๆ ด้าน เมตตามหานิยม หากค้าขายจะร่ำรวย หากทำงานประจำเจ้านายจะเอ็นดูช่วยเหลือ เลื่อนตำแหน่ง และมีโชคลาภความสำเร็จบ่อยครั้ง เป็นต้น ,
ข้อควรระวัง หากไม่ทราบเวลาเกิดแต่เลือกใช้อัญมณีทศา อัญมณีนั้น ๆ อาจให้โทษ
2. อัญมณีราศี
คือใช้อัญมณีตรงตามสีของราศีที่ จันทร์ หรืออาทิตย์ สถิตยอยู่ วิธีนี้จะต้องผูกดวงเจ้าชะตาคำนวณสมผุสดาวต่าง ๆ โดยจะให้ความสำคัญจากราศีจันทร์เป็นหลัก และหากวันนั้นเป็นวันที่จันทร์ย้ายราศี เพื่อเลี่ยงการวางอัญมณีจันทร์ผิดราศีแนะนำให้ใช้ราศีอาทิตย์ เป็นต้น
อัญมณีตามราศีนี้สามารถใช้ได้ตลอดชีพ สวมใส่ได้ตลอดเวลา โดยกลุ่มอัญมณีประจำราศีที่ใช้เป็นอัญมณีรอง 13 ประการ จากอัญมณีมหารัตน์ 22 ประการข้างต้น
เงื่อนไขการในการเลือกใช้อัญมณีราศี
[1]. ทราบเฉพาะ วันเดือนปี และสถานที่เกิด ไม่ทราบเวลาเกิด ให้ใช้ อัญมณีราศีอาทิตย์ (๑) เท่านั้น
[2]. ทราบเฉพาะ วันเดือนปี และสถานที่เกิด
ทราบเวลาเกิดโดยประมาณ ให้ใช้ อัญมณีราศีจันทร์ (๒) และ อัญมณีราศีอาทิตย์ (๑) ร่วมกัน
ผลดีของผู้ใช้อัญมณีราศี จะได้รับ "ราศีคุณ" คือ หมายถึงความมีสง่าราศี มีโชคลาภบ้างพอควร มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโทษในการใช้อัญมณี
ตารางสรุปวิธีการเลือกอัญมณี
เวลาเกิด/อัญมณีที่ใช้ได้ |
อัญมณีทศา |
อัญมณีราศีจันทร์ (๒) |
อัญมณีราศีอาทิตย์ (๑) |
ทราบเวลาเกิดที่แน่นอน |
ใช้ได้ |
ใช้ได้ |
ใช้ได้ |
ไม่ทราบเวลาเกิด [ก] |
- |
- |
ใช้ได้ |
ทราบเวลาเกิดโดยประมาณ [ข] |
- |
ใช้ได้ |
ใช้ได้ |
[ก] ยกเว้นกรณีวันเกิดเป็น วันที่ดาวอาทิตย์ (๑) ย้ายราศี [ข] ยกเว้นกรณีวันเกิดเป็น วันที่ดาวจันทร์ (๒) หรือ ดาวอาทิตย์ (๑) ย้ายราศี
ขั้นตอนการเลือกอัญมณี จะต้องผูกดวงวางลัคนาเจ้าชะตา ใช้วันเดือนปีเกิด เวลาเกิด สถานที่เกิด คำนวณสมผุสจันทร์ สมผุสดวงดาวต่าง ๆ อ่านพื้นดวงตามหลักวิชาโหราศาสตร์พระเวท/ชโยติษ หาจุดเด่นจุดด้อยในดวง ร่วมกับข้อมูลแวดล้อม เช่น วัย อาชีพการงาน ความสนใจ เป้าหมาย อุปสรรค หรืออื่น ๆ ดูพระเคราะห์เสวยแทรกนักษัตรฤกษ์ ในทศา รวมถึงดาวจรช่วงเวลาที่จะใช้อัญมณี เมื่อพิจารณาดวงชะตาโดยละเอียดแล้วจะได้รายละเอียดอัญมณี สี รูปแบบ ขนาดที่ใช้
นอกจากนี้ตามคำภีร์ยังกำหนดการใช้อัญญมณี เช่น กรณีเป็นแหวน มือที่สวมใส่ ซ้าย หรือขวา สีของตัวเรือนอาจเป็นสีทองหรือสีเงิน จะกำหนดตามราศีเพศและโหรา นิ้วที่สวมใส่ตามดาวเจ้าเรือนประจำนิ้ว หากเป็นสร้อยจี้จะกำหนดระดับการแขวนอัญมณีตามจักราต่าง ๆ เป็นต้น
อัญมณีแทนดาวพระเคราะห์
อัญมณีแห่ง พระอาทิตย์ (๑)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระอาทิตย์ เสวย/แทรก ได้แก่ ทับทิม ,สปีเนลแดง ,โรโดไลท์น้ำเบอร์ 1 ,โรโดไลท์น้ำเบอร์ 2
ทับทิม (Ruby)
★★★★★
สปิเนลแดง (Red Spinel)
★★★★
โรโดไลท์น้ำเบอร์ 1 (Rhodolite)
★★★
โรโดไลท์น้ำเบอร์ 2 (Rhodolite)
★★
อัญมณีแห่ง พระจันทร์ (๒)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระจันทร์ เสวย/แทรก ได้แก่ ไข่มุกหอยสังข์ ,ไข่มุกทะเลใต้ ,ไข่มุกน้ำจืด
ไข่มุกหอยสังข์ (Conch Pearls)
★★★★★
ไข่มุกทะเลใต้ (South Sea Pearl)
★★★★
ไข่มุกน้ำจืด (Freshwater Pearl)
★★★
อัญมณีแห่ง พระอังคาร (๓)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระอังคาร เสวย/แทรก ได้แก่ ปะการังแดง ,ไพโรบ
ปะการังแดง (Red Coral)
★★★★★
ไพโรบ (Pyrope)
★★★★★
อัญมณีแห่ง พระพุธ(๔)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระพุธ เสวย/แทรก ได้แก่ มรกต ,ซาโวไรท์ ,เซอร์คอนเขียว ,เพอริดอท
มรกต (Emerald)
★★★★★
ซาโวไรท์ (Tsavorite)
★★★★
เซอร์คอนเขียว (Green Zircon)
★★★★
เพอริดอท (Peridot)
★★★
อัญมณีแห่ง พระพฤหัสบดี (๕)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระพฤหัสบดี เสวย/แทรก ได้แก่ บุษราคัม ,คริสโซเบริลเหลือง ,อำพัน
บุษราคัม (Yellow Sapphir)
★★★★★
คริสโซเบริลเหลือง (Chrysoberyl)
★★★★
อำพัน (Amber)
★★★
อัญมณีแห่ง พระศุกร์ (๖)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระศุกร์ เสวย/แทรก ได้แก่ เพชรเจ้าสัว ,เพชรเจ้าพระยา ,แฮมเบอร์ไกท์ ,แซฟไฟร์ขาว, พีนาไคท์ ,โทปาสขาว
เพชรเจ้าสัว ,เพชรเจ้าพระยา (Diamond)
★★★★★
แซฟไฟร์ขาว (Sapphire)
★★★★
MYHORA.COMMYHORA.COM
แฮมเบอร์ไกท์ (Hambergite)
★★★★
พีนาไคท์ (Phenakite)
★★★★
โทปาสขาว (White Topaz)
★★★
อัญมณีแห่ง พระเสาร์ (๗)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระเสาร์ เสวย/แทรก ได้แก่ ไพลิน ,ไพลินเปลี่ยนสี ,สปีเนลน้ำเงิน ,ไอโอไลท์
ไพลิน ,ไพลินเปลี่ยนสี (Blue Sapphire)
★★★★★
สปีเนลน้ำเงิน (Blue Spinel)
★★★★
MYHORA.COM
ไอโอไลท์ (Iolite)
★★★
อัญมณีแห่ง พระราหู (๘)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระราหู เสวย/แทรก ได้แก่ โกเมด
โกเมด (Gomed)
★★★★★
อัญมณีแห่ง พระเกตุ (๙)
อัญมณี สำหรับแก้ดวง/เสริมดวงช่วงเวลา พระเกตุ เสวย/แทรก ได้แก่ ไพฑูรย์ตาแมว ,จ้าวสามสีตาแมว ,ไพฑูรย์ ,จ้าวสามสี ,สปีเนลเทา ,ซิลลิมาไนท์ตาแมว
ไพฑูรย์ตาแมว (Chrysoberyl Cat's Eye)
★★★★★
จ้าวสามสีตาแมว (Alexandrite Cat's Eye)
★★★★★
ไพฑูรย์ (Cymophane)
★★★★
จ้าวสามสี (Alexandrite)
★★★★
ซิลลิมาไนท์ตาแมว (Cat's eye Sillimanite)
★★★
สนใจอัญมณีสำหรับเสริมโชคลาภ สิริมงคล ผูกดวงเลือกอัญมณีแก้ดวงชะตาเฉพาะบุคคล โทร
089-462-6596
ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : มายโหรา.คอม และ เจมส์ฟอร์จูน
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น
บันทึก/เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2562
อ่าน ใช้งาน
แล้ว
เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)
N/A
★ จาก
N/A รีวิว