บทความ โหราพยากรณ์

ดูดวงส่วนตัวทางโทรศัพท์

เวลามาตรฐานประเทศไทย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งควรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ คือ การเปลี่ยนเวลาของนาฬิกาในประเทศไทยให้เร็วขึ้นอีก 18 นาที กับ 2.7 วินาที และได้ใช้กันเป็นเวลามาตรฐานมาจนทุกวันนี้

ในสมัยโบราณคนไทยกำหนดเวลากันอย่างคร่าวๆ เป็นต้นว่าเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า ย่ำรุ่ง เวลาพระอาทิตย์อยู่ตรงศรีษะเรียกว่า เที่ยงวัน เวลาพระอาทิตย์ตกเรียกว่า ย่ำค่ำ และเวลากึ่งกลางระว่างย่ำค่ำกับย่ำรุ่งเรียกว่า เที่ยงคืน

ครั้นเมื่อทางราชการทหารเรือได้ตั้งกรมอุทกศาสตร์ขึ้น มีที่ทำการอยู่ในบริเวณพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี ได้มีเครื่องวัดแดด (พระอาทิตย์) และมีนาฬิกาใช้ ทำให้การกำหนดเวลามีความละเอียดยิ่งขึ้นเป็นชั่วโมง นาที และวินาที มีความถูกต้องแม่นยำเป็นอย่างดี และได้กำหนดว่าเวลาของประเทศไทย (วัดที่บริเวณพระราชวังเดิม) เร็วกว่าเวลาที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ อยู่ 6 ชั่วโมง 41 นาที 58.2 วินาที

ต่อมากรมอุทกศาสตร์ได้ย้ายออกมาตั้งอยู่ภายนอกพระราชวังเดิม และพิจารณาเห็นว่าจัดตำบลที่ยอดพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี เป็นตำบลซึ่งกรมแผนที่ได้คำนวณมีหลักฐานแน่นอนถูกต้องกว่าบริเวณพระราชวังเดิมซึ่งใช้อยู่แต่ก่อน จึงได้ย้ายมาตรวจวัดแดด ณ บริเวณพระปรางค์นี้ ดังนั้นเวลาของประเทศไทย (วัดที่ยอดพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม) จึงกำหนดให้เร็วกว่าเวลาเมืองกรีนิช 6 ชั่วโมง 41 นาที 57.3 วินาที และทางราชการได้กำหนดให้เวลานี้เป็นเวลายิงปืนเที่ยงในพระนคร และเป็นเวลาที่ใช้ปฏิบัติกันทั่วประเทศ

ต่อมา เมื่อ พ.ศ.2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประเทศต่างๆ ประชุมปรึกษากันเป็นครั้งแรกเพื่อจะกำหนดเวลาที่ใช้สำหรับประเทศต่างๆ ให้นับห่างกันเพียงกึ่งชั่วโมง เพื่อให้สะดวกแก่การที่จะคิดคำนวณ และสังเกตได้ง่าย ทั้งนี้เรียกกำหนดเวลาดังกล่าวว่า เวลาอัตรา

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2462 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการประชุมว่าด้วยอุทกศาสตร์ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมครั้งนั้นด้วย ที่ประชุมได้ตกลงกันแบ่งเขตหรือภาคของเวลาออกเป็นส่วนๆ ทั่วโลก ประเทศใดตกอยู่ในส่วนใดก็ใช้เวลาของส่วนนั้นตลอดไป และได้กำหนดให้ตำบล ณ หอตรวจดาวที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นจุดแรกแห่งการกำหนด และเรียกว่า เวลามาตราฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time หรือย่อเป็น GMT) ส่วนภาคของเวลามีกำหนดด้วยเส้นแวง (ลองจิจูด) ภาคละ 15 องศา ซึ่งคิดเป็นเวลาเท่ากับ 1 ชั่วโมง (โลกเป็นเสมือนวงกลมจึงแบ่งเป็น 360 องศาเส้นแวง และโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นในเวลา 1 ชั่วโมง โลกจึงเคลื่อนที่ไป 15 องศา

ประเทศไทยมีอาณาเขตอยู่ระหว่างเส้นแวง 97.5 องศาตะวันออก กับเส้นแวง 105 องศาตะวันออก ซึ่งถ้ากำหนดใช้เวลาอัตราตรงเส้นแวง 97.5 องศาตะวันออก ผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะเป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช 6 ชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้ากำหนดใช้เวลาอัตราตรงเส้นแวง 105 องศาตะวันออก ผ่านจังหวัดอุบลราชธานีจะเป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมงพอดี

เพื่อความสะดวกประเทศไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนมาใช้เวลาอัตราหรือเวลามาตราฐานสำหรับประเทศไทย เป็นเวลา ก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2463 ดังประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา และแจ้งความกระทรวงทหารเรือ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2462 ดังต่อไปนี้


พระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา

มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า

ด้วยวิธีนับเวลาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่โบราณมาก็คงใช้เวลานาฬิกาแดด ถือเอาเวลาอาทิตย์อยู่ตรงกลางฟ้าระหว่างขอบฟ้าทิศตะวันออกกับตะวันตกเป็นประมาณ ที่เรียกว่ามัชฌันติกสัย เป็นเวลากำหนดใช้ในที่นั้นๆ แล้ว อาไศรยดูเงาอาทิตย์เป็นประมาณอย่างหยาบๆ ว่าเช้าสายเที่ยงบ่ายเย็นเป็นเวลาที่ต่างกันนับด้วย 2 ฤๅ 3 ชั่วโมง เช่นนั้นแล้ว ถ้าแม้นว่าเวลาจะผิดกันไปสักชั่วโมงหนึ่ง ก็ยังไม่ใคร่จะรู้สึกว่าผิดเวลามากนัก เวลานาฬิกาแดดจึงไม่เสมอเท่ากันทุกวันไปได้

#ads-text#

แต่ครั้นเมื่อมีเครื่องมือที่จะวัดสอบให้ละเอียดลงไป จนถึงนาที และวินาทีแล้วก็เห็นได้ชัดว่าเวลานาฬิกาแดด ฤๅเวลามัชฌันติกสัยนั้นไม่เที่ยงตรงกันแท้แทบทุกวันเพราะเหตุว่าวิถีโคจรแห่งอาทิตย์นั้นเดินปัดขึ้นเหนือและปัดลงใต้ ต่างจากเส้นศูนย์กลางรอบโลกถึงข้างละ 23 องศากึ่งอย่างหนึ่ง และเพราะเหตุว่าโลกเดินรอบอาทิตย์เร็วและช้าไม่เสมอกัน ตามวิถีโคจรที่ใกล้หรือไกลจากอาทิตย์ มีประมาณว่าเวลาตกนิตย์ในเดือนมกราคมเดินเร็วที่สุดแล้ว เวลาขึ้นอุจในเดือนมิถุนายนก็เดินช้าที่สุด

เพราะเหตุ 2 ประการนี้ จึงต้องคิดมีนาฬิกากล ที่คิดเฉลี่ยเวลาทั้งรอบปีหนึ่งแบ่งเป็นเวลามัธยมกาล ประมาณให้เสมอว่าวันละ 24 ชั่วโมง สมมุตว่ามีดวงอาทิตย์เดินเสมอเท่ากันทุกวันเป็นมัธยมอาทิตย์เวลานาฬิกาแดด ฤๅเวลาอาทิตย์ปรากฎเป็นมัชฌันติกสัยจริงนั้น จึงอาจจะเร็วไปกว่าเวลานาฬิกากล ฤๅมัธยมกาลนั้นได้ถึง 17 นาที เป็นอย่างมาก และช้าไปได้ถึง 14 นาทีเป็นอย่างมาก

ยังมีเวลาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่าเวลาดาว คือ สังเกตดาวฤกษ์คืนหนึ่งเลงดูว่าอยู่ที่แห่งใดแล้วกำหนดนับไว้ดูสอบอีกคืนหนึ่งในที่ซึ่งเลงแลแห่งเดียวกันแล้ว จะมีกำหนดเสมอเหมือนกันทุกวันไปเป็นเวลานาฬิกามัธยมกาล 23 ชั่วโมง 56 นาที กับ 4 วินาที เวลานี้เที่ยงตรงอยู่เสมอทุกวัน ด้วยเหตุว่าเป็นเวลาโลกหมุนรอบหนึ่งเสมอเท่ากันทุกวันไป ไม่มีช้าเร็วกว่ากันที่จะสังเกตเห็นได้เลย แต่เวลานี้ใช้กันอยู่แต่ในการเดินเรือและในโหราศาสตร์

เวลานาฬิกาแดด, มัธยมกาลและเวลาดาวทั้ง 3 อย่างนี้ ก็ใช้ตามท้องที่ซึ่งตั้งอยู่ต่างกันไปตางลองติจูด คือกำหนดนับว่ารอบโลกไปทางตะวันออกตะวันตกเป็น 360 องศาแล้ว ถ้าตั้งอยู่ห่างกัน 15 องศา เวลาท้องที่ซึ่งตั้งอยู่ต่างกันนั้น ก็จะผิดแปลกกันถึงชั่วโมงหนึ่ง ในมัธยมกาล ถ้าจะประมาณอย่างหยาบๆ ก็กล่าวได้ว่า ท้องที่ซึ่งตั้งกันอยู่ห่างสัก 700 เส้น ก็เป็นเวลาที่จะผิดแปลกกันได้นาทีหนึ่ง

ถ้าทางรถไฟเดินทางตะวันออกตะวันตกแล้ว ก็จะมีเวลาผิดกันได้ถึงนาทีหนึ่งไปทุก ๆ 27 กิโลเมตรเศษ

อีกประการหนึ่งเมื่อจะใช้เวลาเดินรถไฟ ฤๅเดินเรือที่จะนับตามเวลาท้องที่ ซึ่งมีเศษนาทีต่างๆ กัน ก็เป็นการยากในทางที่จะคำนวณคิดบอกเวลาต่างๆ กันไปได้มากมายนัก

เพราะเหตุที่จะปลดเปลื้องความยากลำบากในการที่จะคำนวนเวลาที่ต่างๆ กันอยู่ ไม่ใช่แต่เพียงประเทศ จนชั้นตำบลต่างๆ ในประเทศเดียวกันก็ยังผิดกันได้อย่างนี้นานาประเทศจึงได้ประชุมกันปรึกษา เมื่อ พ.ศ.2427 เป็นครั้งแรก เพื่อจะให้กำหนดเวลาลงใช้สำหรับประเทศต่างๆ นั้น ให้นับห่างกันเพียงกึ่งชั่วโมงไป เพื่อให้เป็นการสดวกแก่การที่จะคิดแลสังเกตได้ง่าย ถ้าประเทศใดมีอาณาเขตร์กว้างขวางไปทางทิศตะวันออก ตะวันตกมากกว่ากึ่งชั่วโมงก็ให้กำหนดใช้เวลาที่ให้เรียกว่า เวลาอัตรานั้นต่างๆ กันได้หลายเวลาอย่างเช่นใช้อยู่ในอเมริกานั้นได้

ครั้นต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2462 นี้ นานาประเทศได้แต่งผู้แทนไปประชุมกันที่ลอนดอนว่าด้วยอุทกศาสตร์ กรุงสยามก็ได้เข้าในประชุมนี้ด้วย ได้ปรึกษาตกลงกันว่าทุกประเทศที่ชุมนุมกันนั้นจะคิดอ่านใช้เวลาอัตรานี้ด้วย

กรุงสยามมีอาณาเขตกว้างทางตะวันออกตะวันตกเพียง 8 องศาเป็นอย่างยิ่ง คือ เวลาประมาณ 32 นาที ควรจะกำหนดใช้เวลาอัตรานั้นเป็นเวลาอย่างเดียวกันได้ เพื่อจะให้ถูกต้องตามสัญญากับนานาประเทศ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2463 สืบไปให้ใช้เวลาอัตราสำหรับกรุงสยามทั่วพระราชอาณาจักรเป็น 7 ชั่วโมงก่อนเวลากรีนิชในเมืองอังกฤษ... แจ้งความกระทรวงทหารเรือ

ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 16 มีนาคม พระพุทธศักราช 2462 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เวลาอัตรา 7 ชั่วโมงก่อนเวลาเมืองกรีนิชทั่วทั้งพระราชอาณาเขตร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พระพุทธศักราช 2463 เป็นต้นไปนั้น ในวันที่กล่าวนี้ เจ้าพนักงานจะได้ยิงปืนสัญญาเวลาเที่ยงซึ่งได้เคยยิงอยู่โดยเวลามัธยมกาลสำหรับกรุงเทพฯ 6 ชั่วโมง 41 นาที 57.3 วินาที ก่อนเวลากรีนิชนั้น เร็วขึ้น 18 นาทีกับ 2.7 วินาที เพื่อให้เป็น 7 ชั่วโมงถ้วนก่อนเวลาเมืองกรีนิชตามพระราชกฤษฎีกา แลคงให้สัญญาเวลาเที่ยงโดยอัตรานี้สืบไป

กระทรวงแลกรมใดหรือบริษัทวาณิชคณะใดมีหน้าที่ให้กำเนิดนาฬิกาปรารถนาจะให้สอบตั้งนาฬิกาให้ถูกต้องเสียแต่ก่อนกำหนดใช้เวลาอัตรานี้ จงส่งพนักงานหรือผู้แทนไปทำความตกลงกับเจ้าพนักงานกองอุทกสาตรทหารเรือ ณ ที่ทำการในพระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี

ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว http://www.kingvajiravudh.org
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น
บันทึก/เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2553
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   5.00 จาก 2 รีวิว
ฤกษ์ออกรถ #year#
ฤกษ์ยามที่ดี ฤกษ์ออกรถใหม่ ธันวาคม 2567-มกราคม
คติโหราศาสตร์
ดวงชะตาเป็นเพียงเครื่องชี้บอก แนวทางชีวิต
สีรถถูกโฉลก สีรถประจำวันเกิด
สีรถถูกโฉลก เป็นศิริมงคล ส่งเสริม นำโชค
สีเสื้อประจำวัน สีเสื้อถูกโฉลก
วิธีเลือกสีเสื้อประจําวัน เพื่อเสริมราศี
ดวงพิชัยสงคราม ยันต์พิชัยสงคราม
ยันต์ที่มีความสำคัญมากในโหราศาสตร์ไทย
โหราศาสตร์กับชีวิต
เกิดวันเดียวกัน แต่ชีวิตแตกต่างราวฟ้ากับดิน
วันมหาสงกรานต์
ประเพณีไทยเดิมถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่
ตำนานเทวดามิตรศัตรู
ปฐมเหตุว่าด้วยตำนานเทวดา มิตร ศัตรู
เตรียม 6 ขั้นตอนก่อนดูดวง
ดูดวงกับหมอดู ต้องเตรียมอะไรบ้าง ถามอะไรได้บ้าง
การนับวันทางโหราศาสตร์
การเปลี่ยนวันใหม่ ทางจันทรคติที่ใช้ในโหราศาสตร์
วันขึ้นปีใหม่ของไทย
ครั้งโบราณวันขึ้นปีใหม่ จะกำหนดขึ้นตามความนิยม
ทิศเทวดา ผีหลวง หลาวเหล็ก
ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ทิศเทวดา-เทพเจ้า
ยามอุบากอง
ตำรายามอุบากอง ที่คนรุ่นปู่ย่าตายายรู้จักกันดี
ความเป็นมาประกาศสงกรานต์
ประวัติที่มา ประกาศสงกรานต์ เริ่มมีตั้งแต่สมัยใด
สะเดาะเคราะห์ (พิธีใหญ่)
รับพระเสวยอายุก็ดี จะมาส่งพระเสวยอายุก็ดี
ประวัติดวงเมืองกรุงเทพฯ
กว่า 200 วันเกิดของกรุงรัตนโกสินทร์
ในหลวงกับวิชาโหราศาสตร์
พระราชอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9
ทิศโบราณ 32 ทิศ
ทำความรู้จักทิศโบราณ ชื่อแปลกๆ ทั้ง
ตั้งชื่อ ทักษา
ศาสตร์การตั้งชื่อ ตำราภูมิทักษา ทักษาปกรณ์
ตั้งชื่อ เลขศาสตร์ อายตนะ 6
ตำราตั้งชื่อ มหายตนะ ตำราอายตนะ 6 ทำนายชื่อ
ตั้งชื่อ เลขรหัสชีวิต
ตำรารหัสชีวิต ถอดผลจากเลขศาสตร์ ทำนายสรุป
ตั้งชื่อ อักษรเทพเจ้า ฯ
อักษรเทพเจ้า อักษรหลาวเหล็ก อักษรผีหลวง
วันห้ามต่างๆ ของไทย
วันห้ามตามโบราณ แต่งงาน ขึ้นบ้าน เผาผี
การเปลี่ยนปีนักษัตร
รอบการเปลี่ยนปีนักษัตร ที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ไทย
สิ่งนำโชค 12 ราศี
สิ่งของนำโชคของชาวราศีต่างๆทั้ง 12 ราศี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิดแต่ละวัน ลักษณะ บทสวดมนต์บูชา
เวลามาตรฐานประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา ก่อนที่จะเป็นเวลามาตรฐาน
สะเดาะเคราะห์ (ด้วยตัวเอง)
การแก้เคราะห์กรรมที่ดี ก็ทำได้ไม่ยาก
ทำนายนิสัยตามเวลาเกิด
ดวงยามอัฏฐกาล ทำนายนิสัยใจคอ จากเวลาเกิด
นิมิตเคล็ดลาง เขม่น
ลางเขม่น ตาเขม่น ตากระตุก เปลือกตากระตุก
ประวัติชื่อเดือนไทย
ประวัติชื่อเดือนไทย ชื่อเดือนแต่ละเดือนที่ใช้กัน
ดูลักษณะรูปก้นหอยในนิ้วมือ
รูปก้นหอยในลายนิ้วมือ สัมพันธ์กับ ดวงชะตาอย่างไร
ดูความรักจากการสวมแหวน
ชอบสวมแหวนนิ้วนาง เป็นคนที่อ่อนหวาน
การทำนายราศี ลัคนาราศี
วิธีการอ่านดวงดวงใน นิตยสาร หนังสือพิมพ์
คำถามดูดวงที่ถามบ่อย
คำถามดูดวง ชีวิตเป็นยังไง เมื่อไรจะมีแฟน
ความรักของ 12 นักษัตร
ดวงความรักของผู้ที่เกิด ในแต่ละปีนักษัตร
มารยาทของโหร
มารยาทของโหร ผู้ที่มีอาชีพเป็นหมอดู
อัญมณีแห่งโชคลาภ
อัญมณีเสริมโชคลาภและสิริมงคลเฉพาะบุคคล
ทำนายเลขบัตรประชาชน
เลขรหัสบัตรประจำตัวประชาชนนั้นมี 13
วิธีดูค่ำแรมจากดวงจันทร์
วิธีดูขึ้นแรมค่ำจากดวงจันทร์เบื้องต้น
ทำนายไฝบนใบหน้า
ไฝบนใบหน้าร่างกาย มีความหมายอย่างไร
วันเกิดบอกความเจ้าชู้ได้
รู้หรือไม่ว่า วันเกิดก็สามารถบอกความเจ้าชู้ได้
ดวงหนุ่มสาว 12 ราศี
ทำนายดวง หนุ่มสาวทั้ง 12 ราศี เป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน