กราฟดาว ปฏิทินโหรฯ สุริยยาตร์ พ.ศ.2555

อ่าน ใช้งาน Chart Planetary Suriyayas แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   4.90 จาก 92 รีวิว
การโคจรวิปริต/วิกลคติ
โหราศาสตร์โบราณใช้การสังเกตุจดจำ มองการโคจรดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้าจากโลก และมองอิทธิพลจากแสงดาว มุมดาวต่าง ๆ ส่งมากระทบโลกหรือบุคคล มุมมองดาราศาสตร์ยุคนั้นใช้โลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric Model) ซึ่งแนวคิดเก่าแก่ที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้ง คลอเดียส ทอเลมี (Claudius Ptolemy) และ อริสโตเติล (Aristotle) ให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่าง ๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบ ๆ โลก

ต่างจากการค้นพบดาราศาสตร์ปัจจุบัน ที่ระบบการโคจรมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (Heliocentrism Model) แนวคิดนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสตกาล นักคิดคนแรกคือชาวกรีกชื่อ อริสตาชุส (Aristarchus)  แห่ง Samos ได้ริเริ่มแนวคิดที่ว่า โลกและดวงดาวต่าง ๆ เดินทางไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ที่อยู่นิ่ง แต่เวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) จึงได้นำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่แสดงว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีหลักฐานการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ช่วยสนับสนุน

โหราศาสตร์ใช้ดาราศาสตร์ สังเกตุปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแบบโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric Model) ในขณะที่ในความเป็นจริงดวงดาวต่าง ๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรรอบโลก ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric Model) ก็จะเห็นมุมมองการโคจรเชิงสังเกตการณ์ เชิงปรากฏการณ์อีกแบบ คือจะเห็นดวงดาวต่าง ๆ เดินช้า เดินเร็ว หยุดบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุมดาวจักรราศี ซึ่งอธิบายเบื้องต้นดังนี้

ตัวอย่าง จากรูปดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง ถัดมาก็เป็นโลก และดาวอังคาร โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี ส่วนดาวอังคารใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือมากกว่าโลก 6 เดือน เมื่อฟล๊อดตำเหน่งวงโคจรของดาวอังคาร ในช่วงเวลาที่เท่า ๆ กัน รอบดวงอาทิตย์ จะได้จุด สีส้ม(ดาวอังคาร) และสีฟ้า(โลก) ดังรูป โลกโคจรเร็วกว่าดังนั้นระยะห่างของจุดจึงมากกว่า ในแต่ละช่วงเวลาของการโคจร เมื่อมองดาวอังคารจากโลกเปรียบเทียบกับตำแหน่งกลุ่มดาวจักรราศีบนท้องฟ้า จะเห็นดาวอังคารในตำแหน่งราศีต่าง ๆ กัน ตามจุดสีเขียว

จาก จุดที่ 1 ➜ 2 เมื่อมองดาวอังคาร จากโลก จะดูเหมือน โคจรเร็วเพราะระยะห่างจุดสีเขียวมีมากกว่า
จาก จุดที่ 2 ➜ 3 เริ่มลดความเร็วหรือช้าลง
จาก จุดที่ 3 ➜ 4 ➜ 5 มองจากโลก ดูเหมือนดาวอังคาร โคจรย้อนกลับหรือถอยหลัง เมื่อเทียบกับตำแหน่งดาวประจำราศีนั้น ๆ
จาก จุดที่ 5 ➜ 6 เริ่มโคจรปรกติและเริ่ม โคจรเร็วอีกครั้ง ในจุดที่ 7 และจะโคจรเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ เป็นวัฐจักร

ส่วนดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) และดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets)อื่น ๆ ยกเว้น ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เมื่อมองจากโลกก็จะเห็นการโคจรคล้าย ๆ กัน คือมีเดินหน้าถอยหลัง เร็วช้า หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา , ดู แบบจำลอง (คลิกปุ่ม )

วิธีอ่านกราฟ
การโคจรของดาวพระเคราะห์ในดาราศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ ปรกติ และ วิปริต , การโคจรปรกติ (A) ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปแปรผันโดยตรงกับตำแหน่งที่เปลี่ยนไป ดาวเคลื่อนที่สม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนตัวผ่านแต่ละราศีใช้เวลาคงที่ ดาวเคราะห์ที่โคจรปรกติตลอดเวลา คือ อาทิตย์ , จันทร์ ส่วนดาวเคราะห์อื่น ๆ จะมีลักษณะโคจรวิปริต ซึ่งแบ่งช่วงการโคจรวิปริตได้เป็น 3 แบบหลัก ๆ คือ ดาว พักร์ มนท์ เสริต

ตัวอย่างกราฟการโคจรของ ดาวอาทิตย์ เส้น สีแดง กับ ดาวพุธ เส้น สีเขียว จากกราฟจะเห็นว่าอาทิตย์จะโคจรสม่ำเสมอ เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยผ่านแต่ละราศีจะใช้เวลาประมาณ 29-31วัน หรือหนึ่งเดือน

3. พักร์ (Retrograde Motion) ดาวโคจรถอยหลัง หรือดาวโคจรช้า กว่าโลกจึงทำให้มองเหมือนโคจรถอยหลัง สังเกตุได้จาก ช่วงองศา ลิปดาของวันนั้น ๆ กับวันถัดไปช่วงเวลาเดียวกัน จะลดลงเรื่อย ๆ น้อยกว่ากว่าค่าเฉลี่ย หากดูจากกราฟ คือช่วงที่กราฟโค้งลง ราศีลดลง หรือตกลงมาเรื่อย ๆ (C)

2. มนฑ์ (Stationary Motion) ดาวโคจรช้า เมื่อเทียบกับเวลา สังเกตุได้จาก องศา ลิปดาของวันนั้น ๆ กับวันถัดไปช่วงเวลาเดียวกันช้ากว่าค่าเฉลี่ย , มนฑ์ เป็นช่วงที่ดาวโคจรชะลอตัวก่อนและหลังจากพักร์ จากกราฟ คือช่วงที่กราฟโค้งด้านบน หรือด้านล่าง (B) เกิดหลังจากโคจรปรกติ ก่อนที่จะพักร์ (Stationary Retrograde) , (D) เกิดหลังจากพักร์ (Stationary Direct) ก่อนจะโคจรปรกติ และเสริต

3. เสริต (Direct/Progress Motion) ดาวโคจรเดินหน้ารวดเร็ว เสริตจะเกิดหลังจากมนฑ์ และโคจรปรกติมาช่วงหนึ่ง ช่วงองศา ลิปดาของวันนั้น ๆ กับวันถัดไปช่วงเวลาเดียวกัน มากกว่าค่าเฉลี่ย จากกราฟ คือช่วงที่กราฟกำลังขึ้นสูงชัน ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะปรกติหรือ ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนตัวคงที่ (E)

โดยปรกติ ดาวพระเคราะห์นอกเหนือจาก อาทิตย์ , จันทร์ จะโคจรวิปริตและโคจรปรกติสลับกัน ระยะเวลาการโคจรวิปริต หรือรอบจะแตกต่างขึ้นอยู่กับรอบการโคจรช้าเร็วของดาวเคราะห์แต่ละดวงรอบดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์วงใน (พุธ,ศุกร์) รอบจะเร็วกว่าสังเกตง่ายกว่าดาวเคราะห์วงนอก (อังคาร,พฤหัสบดี,เสาร์,ยูเรนัส,เนปจูน) เช่น ดาวพุธรอบจักรราศีใช้เวลา 1 ปี จะโคจรวิปริตบ่อยกว่าแต่ใช้เวลาสั้นกว่า ดาวเสาร์ ซึ่งรอบจักรราศีใช้เวลา 30 ปี เป็นต้น , กรณี พักร์ มนฑ์ เสริต ข้ามราศี หมายถึงช่วงที่โคจรวิปริตนั้น ๆ เกิดขึ้นช่วงที่ดาวกำลังเปลี่ยนราศี