บล๊อก มายโหรา.คอม

ดาวหาง NEOWISE (C/2020 F3)

วันเสาร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2562
เหตุการณ์โลกช่วงนี้ทราบกันดีว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ในส่วนปรากฏการณ์ท้องฟ้าปี พ.ศ.2563 นี้ก็มีหลายปรากฏการณ์พิเศษที่ขยายความมีนัยทางโหราศาสตร์ เช่น ที่ผ่านมาวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 มีปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน ในประเทศไทยจะเห็นบางส่วน สุริยุปราคาครั้งนี้มีความพิเศษคือเกิดในวันครีษมายัน (Summer Solstice) พอดี หรือช่วงนี้ก็มีดาวหาง NEOWISE (C/2020 F3) ปรากฏ โดยจะเข้าไกล้โลกในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563 ถ้าเมฆฝนไม่บังก็สังเกตุได้ สำหรับช่วงปลายปีวันเหมายัน (Winter Solstice) ก็มีปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้ดาวเสาร์วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2563 ซึ่งดาวสำคัญคู่นี้ปรกติอยู่ใกล้กัน หรือดาวกุมกันทางโหราศาสตร์ (มหาผัสสะ) ประมาณทุก ๆ 20 ปี รอบนี้ปลายปีช่วงหน้าหนาวฟ้าเปิดน่าจะสังเกตุปรากฏการณ์ได้ง่าย



เข้าสู่เรื่องราวดีกว่า ช่วงนี้มีดาวหางปรากฏเริ่มเห็นได้ในหลายพื้นที่แล้ว มีรูปจากต่างประเทศมากมาย ในไทยก็เริ่มมีถ่ายมาได้บ้าง และเมื่อวานก็มีข่าว COVID-19 ที่จังหวังระยอง 2 เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนึงของกวีท่านนึงที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดระยอง ซึ่งก็คือท่านสุนทรภู่

"แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ .... จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง"

กลอนบทนี้เป็นบางส่วนจากบทประพันธ์พระอภัยมณี ของท่านสุนทรภู่ ตอนนางสุวรรณมาลีสอนสินสมุทรและนางอรุณรัศมีดูดาว (บทเต็มด้านล่าง) ถ้าเคยอ่านบทประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ จะทราบว่าท่านมีความรู้ดาราศาสตร์ การดูดาว ฤกษ์ยามเวลา ปฏิทิน การเปลี่ยนชื่อ มีเรื่องทางโหราศาสตร์แฝงอยู่ให้หลาย ๆ บทกลอน สำหรับวันนี้จะพูดถึงเรื่อง "ดาวกา" เพราะมีการตีความหลายแบบอยากเขียนเล่าอีกแง่มุมนึงไว้เผื่อสืบค้นต่อ ก่อนเล่าขอแปลกลอนบาทหลังก่อน คือ "จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง" คำว่า "ห่า" หมายถึงโรคห่า หรือ อหิวาตกโรค ส่วนคำว่า "โหง" หมายถึง การตายผิดธรรมดาโดยอาการร้าย แปลก็คือจะเกิดโรคระบาดอหิวาตกโรคมีผู้เสียชีวิตมากมายแบบไม่คาดคิด

กลับมาที่บทกลอนต่อ คำว่า "ดาวกา" ในบทนี้มีการตีความหลายความหมาย เช่น

(1) ดาวกา คือ ดาวชุดนึงมี 3 ดวงวางเป็นสามเหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่ช่วงกลาง ๆ ดาวโลง หรือกลุ่มดาวคนคู่ หรือเรียกว่า 'ดาวกาจับโลง' เหตุตามบทกลอนว่า "มาใกล้ในมนุษย์" ซึ่งก็คือดาวกาอยู่ใกล้คนคู่หรือมนุษย์ ปรกติดาวฤกษ์จะอยู่ตำแหน่งเดิมตลอด 'มาใกล้' น่าจะหมายถึงหากเห็นดาวเด่นชัดสว่างมาก

บทประพันธ์อื่นที่พูดถึง ดาวกาจับโลง "ขีดชะตาลงดูกับแผ่นดิน ก็ขาดสิ้นเคราะห์ร้ายเห็นตายโหง เสาร์ทับลัคนากาจับโลง ยามลิงล้วงโพรงจระเข้กิน" บทขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง สังเกตุว่าในบทกลอนท่านสุนทรภู่ใช้ชื่อเต็มว่า 'กาจับโลง' ไม่ได้ใช้ 'ดาวกา' ซึ่งอาจเป็นเรื่องสัมผัสในบทกลอน

(2) ดาวกา ,ดาวไซ เป็นชื่อดาวไทย คือ กลุ่มดาวโลมา (Delphinus) ทางโหราศาสตร์ คือ ธนิษฐานักษัตรฤกษ์ที่ 23 เหตุตามบทกลอนว่า "มาใกล้ในมนุษย์" เนื่องจากดาวฤกษ์อยู่ตำแหน่งเดิม 'มาใกล้' จึงน่าจะหมายถึงหากเห็นดาวกลุ่มนี้เด่นชัดสว่างมากดวงใหญ่เหมือนอยู่ใกล้

(3) ดาวกา คือ ดาวกาลี หรือ ดาวหาง สมัยนั้นคำว่าดาวหางมีใช้แล้ว อาจใช้คำอื่นย่อคำเพราะสัมผัสในบทกลอนก็เป็นได้ ในเรื่องดาวหรือดาราศาสตร์ ทราบกันดีว่าท้องฟ้าแบ่งเทห์ฟ้าแบ่งดาวเป็น 2 กลุ่ม ขอลงรายละเอียดนิดนึงอธิบายกว้าง ๆ นะครับ

[1.] ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่กำเนิดแสงสว่าง ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง ดาวฤกษ์ตำแหน่งบนท้องฟ้าจะคงที่ (ในความเป็นจริง ก็ไม่อยู่คงที่ แต่หมื่นปีแสนปีอาจขยับตำแหน่งสักนิดนึง) ดาวฤกษ์ที่เห็นได้คือกลุ่มดาวต่างๆ ที่สว่างบนท้องฟ้าทั้งหมด ความสว่างดาวฤกษ์จะแปรเปลี่ยนน้อยมากขึ้นกับอายุของดาว ในระบบสุริยะเราดวงอาทิตย์จะเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว

[2.] ดาวเคราะห์ ในระบบสุริยะก็คือดาวบริวาร ดาวพุธ, ศุกร์, โลก, อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์, ยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเองต้องอาศัยแสงสะท้อนจากดาวฤกษ์ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ ตำแหน่งดาวเคราะห์บนท้องฟ้าจะไม่คงที่ มีการเปลี่ยนตำแหน่งตลอดเวลาช้าเร็วขึ้นอยู่กับคาบการโคจร

นอกจากนี้ในระบบสุริยะมีวัตถุอย่างอื่นอีก เช่น ดาวหาง ดาวเคราะห์แคระห์ ซึ่งเป็นเทห์ฟ้าขนาดเล็ก ระนาบวงโคจรห่างจากดาวเคราะห์ ที่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลามีวงโคจร มีคาบโคจรอบดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่ละรอบอาจหลายสิบหรือหลายพันปี

ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับความหมาย ดาวกา คือ ดาวกาลี หรือหมายถึง ดาวหาง ซึ่งปรกติมีค้นพบดวงใหม่ ๆ ทุกปี แต่จะมีบางดวงขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็นชัด นาน ๆ ครั้ง จะเห็นชัดที่สุดจะเป็นช่วงที่ดาวหางโคจรใกล้ ๆ โลก และมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์พอควร , หากดูตามบทกลอน "มาใกล้ในมนุษย์" จะตรงกับลักษณะปรากฏการณ์ของดาวหางจะมีเข้ามาใกล้โลก เห็นชัด ออกห่าง แล้วก็ผ่านไป ถ้าหากเป็นดาวฤกษ์ตำแหน่งจะคงที่ความสว่างสังเกตุใกล้ไกลด้วยตาเปล่าทำได้ยากมาก หรือถ้าเป็นดาวเคราะห์ เช่น วันนี้ (14 กรกฎาคม พ.ศ.2563) ดาวพฤหัสบดีเพ็ญ (Jupiter Opposition) ช่วงหัวค่ำดาวพฤหัสบดีขึ้น (ถ้าไม่มีเมฆบัง) ดูทางทิศตะวันออกปัดใต้ จะเห็นสว่างที่สุดใกล้โลกที่สุดในรอบปีสว่างจริงแตกต่างพอสังเกตุได้

หาก 'ดาวกา' ของท่านสุนทรภู่ คือ ดาวหาง ก็น่าจะมีข้อมูลอะไรบ้าง ลองค้นข้อมูลว่าช่วงนั้นมีเหตุการณ์เรื่องราวอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้องบ้าง

ท่านสุนทรภู่เกิด วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2329 ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2398 (อายุ 69 ปี)

พ.ศ.2362 (ค.ศ.1819) มีดาวหางดวงนึงชื่อ Comet Tralles (Great Comet of 1819 / C/1819 N1) ปรากฏ

พ.ศ.2363 (ค.ศ.1820) หลังจากนั้นช่วงใกล้ ๆ กัน เกิดโรคห่า หรือ อหิวาตกโรค "ปีมะโรงห่าลง" ในไทยมีคนตายกว่า 30,000 คน ทั่วโลกประมาณ 100,000 คน

พ.ศ.2364 (ค.ศ.1821) ท่านสุนทรภู่ ประพันธ์พระอภัยมณี น่าจะเริ่มเขียนราวปี พ.ศ.2364-2366 (ช่วงติดคุก) กลอนบาทนี้อยู่ตอนที่ 18 ต้น ๆ เรื่อง

ที่เขียนมาเล่าเป็นข้อคิดเห็นเรื่อง ดาวกา มุมมองนึงนะครับ อาจผิดหรือถูกก็ได้ เท่าที่มีข้อมูลพอสรุปเรื่องราวได้ประมาณนี้ ในทางโหราศาสตร์ ดาวกา อาจมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ ไม่อยากให้กังวล คิดว่าที่ผ่านมาไม่กี่ปีมานี้ก็มีดาวหางดัง ๆ มองเห็นได้ เช่น ดาวหางฮัลเลย์ , เฮียะกุตาเกะ , เฮล-บอปป์ ผ่านมาก็ไม่มีโรคระบาดแบบนี้

รักษาสุขภาพนะครับ

=====================================

ปล. บทประพันธ์ พระอภัยมณี ของท่านสุนทรภู่
ตอนนางสุวรรณมาลี สอนสินสมุทรและนางอรุณรัศมีดูดาว

พระชนนีชี้ชวนชมดารา .... ให้หลานยาลูกรักรู้จักไว้
ดูโน่นแน่แม่อรุณรัศมี ... ตรงมือชี้ดาวเต่านั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ... ดาวลูกไก่เคียงอยู่เป็นหมู่กัน
องค์อรุณทูลถามพระเจ้าป้า .... ที่ตรงหน้าดาวไถชื่อไรนั่น
นางบอกว่าดาวธงอยู่ตรงนั้น .... ที่เคียงกันเป็นระนาวชื่อดาวโลง
แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ .... จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง
ดาวดวงลำสำเภามีเสากระโดง .... สายระโยงระยางหางเสือยาว
นั่นแน่แม่ดูดาวจระเข้ ... ศีรษะเหหกหางขึ้นกลางหาว
ดาวนิดทิศพายัพดูวับวาว .... เขาเรียกดาวยอดมหาจุฬามณี
โน่นดาวคันชั่งช่วงดวงสว่าง .... ที่พร่างพร่างพรายงามดาวหามผี
หน่อนรินทร์สินสมุทกับบุตรี .... เฝ้าเซ้าซี้ซักถามตามสงกา
พระชนนีชี้แจงให้แจ้งจิต .... อยู่ตามทิศทั่วไปในเวหา
ครั้นดึกด่วนชวนสองกุมารา .... เข้าห้องในไสยาในราตรี

รูปดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE)
จากฝรั่งเศส ถ่ายเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2563
.
shorturl.at/yAFGK (พระอภัยมณี ตอนที่ 18)
https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Comet_of_1819
https://en.wikipedia.org/wiki/C/2020_F3_(NEOWISE)
วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2566
ตำรา "พื้นฐานของโหราศาสตร์ ความมหัศจรรย์ของตัวเลข" อ.พลูหลวง (อ. ประยูร อุลุชาฏะ) พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 น่าจะเป็นตำราเลขศาสตร์ไทยเล่มแรก ๆ

ปัจจัยหนึ่งที่เลขศาสตร์ได้รับความนิยมในบ้านเรา คงเพราะรูปดวงชะตา (Birth Chart) คือรูปดวงไทยเราใช้เลขแทนดาว เช่น เลข ๑ แทน ดาวอาทิตย์ , ๒ แทนดาวจันทร์ ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566
รูปดวงวิภาคจักรราศี ใน ประติทิน โหราศาสตร์ พ.ศ.2417-2479. หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (อ.วิเชียร จันทร์หอม)
 


ยังมีแบ่งอีกหลายแบบครับ แต่ละแบบก็ใช้ทำนายบางเรื่อง ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2566
Sun, Moon and Earth. Robin Heath (Author)
ถ่ายจากหนังสือ อ.อารี สวัสดี 🙏
 


อ่านต่อ
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
เมื่อวานกลับจากลอยกระทงมีเวลาว่างได้ดูเกณฑ์การวางอธิกมาสและอธิกวารปฏิทินจันทรคติไทยปีล่วงหน้าอีกครั้ง เลยอยากโพสไว้ คือในปีปฏิทินบางฉบับวางเกณฑ์ ปี พ.ศ.2475 วางเป็นปีปรกติมาส ปรกติวาร พ.ศ.2476 วางเป็นปีปรกติมาส อธิกวาร
.
ซึ่งเกณฑ์ปี พ.ศ.2475/2476 ข้างต้น ผมไม่เห็นด้วยกับการวางเกณฑ์นี้ สาเหตุก็เป็นเพราะในปี ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
หลาย ๆ ท่านคงเคยมีคำถามว่าผูกดวงโหราศาสตร์ไทยนิยมใช้ปฏิทินและลัคนาแบบใดมากที่สุด ? ... ทราบกันดีว่า ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยที่นิยมใช้กัน มีกันอยู่ 2 แบบ คือ 1. ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ และ 2. ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ตัดอายนางศะ ลาหิรี เฉพาะปฏิทินโหรฯ ... อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2566


เมื่อนั้น พิเภกแค้นขัดอัชฌาสัย
จึ่งว่าเหวยอินทรชิตฤทธิไกร
กูมิได้ต้องประสงค์ลงกา
เพราะพ่อมึงขึ้งโกรธให้ขับหนี
ไม่ปรานีนับวงศ์พงศา
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2566
ราศีดุล ราศีตุลย์ ราศีตุล Tula Libra ♎︎ ฯ
 



... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2566
ลัคน์ทันใจ จานหมุนสิบลัคน์ อ.อรุณ เทศถมทรัพย์ #เก็บรูป




อ่านต่อ
วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2566
รูปหน้าจอตัวอย่างเครื่องคิดเลข Casio fx-9750G Plus ใช้ผูกดวง 10 ลัคนา
สมัยก่อนเป็นแบบนี้จริง ๆ ก่อนจะเป็นโปรแกรมเป็นแอป ตอนเขียน Code ต้องเขียนในกระดาษให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อย ๆ พิมพ์ ชุดคำสั่งทีละบรรทัดจนครบ แล้ว Run ไม่ง่ายเลยครับ

อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2566
ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) ได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis ซึ่งเป็นเดือนลำดับที่ 6 (ปฏิทินโรมันนับ March ต้นฤดูใบไม้ผลิเป็นเดือนแรก) ตามชื่อของตนคือ Augustus (ภาษาละติน) หรือ August และเพื่อให้ยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้าจักรพรรดิจูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar) ผู้ที่ตั้งชื่อเดือน July ตามชื่อตน ก็ให้เดือน ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ.2566
สุริยุปราคา (ในรูปดวงอาทิตย์ขอบล่างด้านขวา)
 

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ.2566 เวลา 10:57น.(UTC+07:00)
มุมเงย (Alt.) 80°' มุมทิศ (Az.) 80°' โดยประมาณ ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2565
เจอพาดหัวข่าวที่แชร์กันช่วงนี้ "จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565 ฤกษ์อันตราย อาถรรพฺ์แรง คืนลอยกระทง ใครออกไปรับแสงจันทร์เวลานี้อาจจะทำให้ดวงตก วาสนาดิ่ง ความโชคดีหาย ความโชคร้ายจะมาเยือน ได้รับการเตือนจากอาจารย์ทั้งโหราศาสตร์ไทย และจีน พูดตรงกันคือ จันทรุปราคา ที่เกิดในคืนพระจันทร์เต็มดวง นี่แรงมากแรงที่สุดในบรรดาคืนจันทรคราสทั้งหมด"  ... อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2565

ฟาก คือไม้ไผ่ลำใหญ่ที่เอามาสับแล้วแผ่ให้เป็นฟาก สมัยโบราณเรือนของสามัญชนนิยมใช้ไม้ฟากปูพื้น ไม่ว่าจะเป็นเรือนที่อยู่อาศัยหรือแคร่ หรือที่ยกพื้นสำหรับนอนตามกระท่อม ดังคำโบราณที่ใช้เรียกเวลาที่คลอดลูกว่า ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2565




อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2565
ขอบฟ้าเทียม (Artificial Horizon) เป็นเครื่องมือจำลองขอบฟ้า (ค.ศ.1870-1900) ใช้ในกรณีที่จุดสังเกตการณ์ไม่สามารถมองเห็นขอบฟ้าได้ หรือมองเห็นขอบฟ้าไม่ชัดเจน การใช้งานใช้ร่วมกับเครื่องวัดแดด หรือ เซกซ์แทนต์ (Sextant) เพื่อวัดมุมระหว่างวัตถุบนท้องฟ้า (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือ ดวงดาวต่าง ๆ) กับเส้นขอบฟ้า ... อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565
เช้ามืดวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565 ขอเชิญชมดาวเรียงเดือน ดาวเคราะห์และดวงจันทร์เรียงแนวเดียวกันรวม 8 ดวง คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวยูเรนัส *, ดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเนปจูน * และ ดาวเสาร์

โดยสามารถมองเห็นสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565
กรุงเทพฯ ไร้เงา 2565 (Subsolar Point BKK. 2022)
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565 เวลา 12:16น. (UTC+07:00)
.
[สังเกตการณ์ เวลา 12:12 ~ 12:20น.]
.
ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก เงาวัตถุจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2565
แผ่นป้ายงาช้างสลักยามอุบากอง

รูปถ่ายที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช. ... อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2564
กรุงเทพฯ ไร้เงา 2564 (Subsolar Point BKK. 2021)
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2564 เวลา 12:16น. (UTC+07:00)
.
[สังเกตการณ์ เวลา 12:12 ~ 12:20น.]
.
ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก เงาวัตถุจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564
การเลื่อนของวันมหาสงกรานต์ ☉ ➜ ♈️
 
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2564
วิดีโอคลิป ดารา-โหราศาสตร์ ศวท.2564 บรรยายโดย อ.จักรกฤษณ์ แร่ทอง

วิชาโหราศาสตร์ไทย กิจกรรมวัยเก๋า โดย มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : ไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2564
การเปลี่ยนปีนักษัตรจีน การเริ่มต้นนับราศีฤดู ราศีปี ขวบปีใหม่ ยุคดาว รหัสปีเกิด ตามปฏิทินจันทรคติจีน จะเปลี่ยนใน วันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี ประมาณช่วงวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์

ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ วันตรุษจีน (春节) แต่เดิมมีชื่อเต็มว่า วันเทศกาลสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นต้นฤดูกาลในระบบ ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564


แสดงกลุ่มดาวต่าง ๆ เลือกละติจูดที่สังเกตุการณ์ได้ (5°  - 20°  N) แสดงดาวเคราะห์ได้
https://www.myhora.com/astronomy/planisphere.aspx

... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2563
ครม. 29 ธ.ค. 2563 มีประกาศวันหยุดราชการปี 2564 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 4 วัน คือ [1.] 12 ก.พ. 2564 (วันตรุษจีน) , [2.] 12 เม.ย. 2564 , [3.] 27 ก.ค. 2564 และ [4.] 24 ก.ย. 2564 (วันมหิดล) และ ให้เลื่อนวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช จาก 25 ต.ค. 2564 เป็น 22 ต.ค. 2564

เพิ่มวันหยุดราชการประจำภาค รวม ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2563

“I don’t believe in astrology; I’m a Sagittarius and we’re skeptical.”

... อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563

สุริยุปราคา วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 14:49น.
มุมเงย (Alt.) 53° มุมทิศ (Az.) 291° โดยประมาณ @ประเวศ กรุงเทพฯ

Canon EOS M3 + EFS-EFM Convertor + Lens EF 75-300mm
@300mm F/8 ISO100 1/20s ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563
ตัวอย่างจานหมุนลัคนาสำเร็จ คำนวณเกณฑ์อันโตนาทีท้องถิ่น ใช้เวลานักษัตรคือคำนวณช่วงเวลาแต่ละราศีจากจุดเมษ โดยนำค่าความเอียงแกนโลก (Obliquity) มาหามูลอันโตนาทีแต่ละช่วงราศี คำนวณค่ากรันติ ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ.2563
ตำราห่วงในพรหมชาติ เป็นอีกตำราที่คุณตาท่านใช้บ่อย (ดูจากรอยปากกา) หลัก ๆ ใช้หาดิถีวันมงคลร่วมกับตำราอื่น ๆ คุณตาท่านเคยสอน แต่ผมก็ไม่ได้ใช้เท่าไหร่


#คิดถึง #สว่าง_แก้วสว่าง ... อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563
การคำนวณวันเวลามหาสงกรานต์



วิธีพิชัยสงคราม ดาวย้ายราศีแบบ 0 พิลิปดา

วันเวลามหาสงกรานต์วิธีพิชัยสงคราม เป็นการคำนวณหาเวลาพระอาทิตย์ย้ายราศีโดยใช้สูตรของคัมภีร์สุริยยาตร์คำนวณ ... อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563
สุริยุปราคาในประเทศไทยครั้งถัดไป , สุริยุปราคาที่สังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ครั้งถัดไปวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 ช่วงเวลา 10:46-16:34น. บังมากสุด/กึ่งกลางคราสเวลา 13:40น. เป็นสุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ในไทยเห็นบางส่วน เป็นเสี้ยว (คล้าย ๆ กับเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา) จุดกลางคราสพาดผ่านแถวประเทศจีน ... อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563

คู่มือโปรแกรมสุริยยาตรา พลัส หน้า 52 , อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์) ... อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2563


Saturday 4 April 2020, 07:48PM @NST Az. 290° Alt 23° Canon EOS M3 + EF 75-300mm @300mm F20 ISO12800 1/2s. Crop

อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563
วิดีโอคลิป ดารา-โหราศาสตร์ ศวท.2563 บรรยายโดย อ.จักรกฤษณ์ แร่ทอง

วิชาโหราศาสตร์ไทย กิจกรรมวัยเก๋า โดย มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : บันทึกวีดีโอเฉพาะกิจ เพื่อไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค ... อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2562

สุริยุปราคา วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 เวลา 11:50น. ทิศใต้ มุมเงย 50° โดยประมาณ @ประเวศ กรุงเทพฯ

Canon EOS M3 + EFS-EFM Convertor + Lens EF 75-300mm + Extender 2X @600mm F/8 ISO100 1/500s ,Crop ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2562
แอปจำลองทรงกลมฟ้า (Armillary Sphere) เป็นแอปพลิเคชันทางดาราศาสตร์ที่มีประโยชน์ สำหรับเรียนรู้กลไกท้องฟ้า ตามแบบจำลองของทอเลมี เรียนรู้เส้นและจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น เส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) เส้นขอบฟ้า(Horizon) เส้นศูนย์สูตร์ฟ้า (Celestial Equatorial) ขั้วฟ้าเหนือ ขั้วโลกเหนือ ตำแหน่งดาวจักราศี ฯ จำลองทิศทางการหมุน ... อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2562


http://bit.ly/2YQaBjP
.
อัปเดท! ตัวเลือก หมุดอักษรไทย ,อักษรขอม ,สัญลักษณ์ และ ตำแหน่งหมุด

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2562 ... อ่านต่อ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2562

ดูดวง ดาวพฤหัสบดี ยกเข้าสู่ราศีธนู ในรูปดวงชะตาจะเห็นเป็นช่องๆ ย้ายช่องก็ย้ายราศี




ดูดาว ฟ้าจริงเป็นแบบนี้ ... อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
เรื่องนี้ผมเขียนรวบรวมจากคำถามในหลายๆ ครั้ง เรื่องลัคนาในโหราศาตร์ไทย ไม่ตรงบ้าง ผิดบ้าง ฯ เลยรวมเขียนอธิบายทีเดียวครับ ผมจะพูดในมุมทฤษฏี ไม่ได้บอกว่าลัคนาแบบไหนดีไม่ดี ถนัดใช้แบบไหนก็ใช้แบบนั้นครับ

"ลัคนาคือ จักราศีทางทิศตะวันออก ณ เวลาประสงค์" หมายถึง ณ. วันเวลา สถานที่ที่ต้องการ สมมุติว่าเราไปยืนตรงนั้น ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2561
โพสนี้เขียนเกี่ยวกับคำถามทางอีเมล ซึ่งได้รับบ่อยมากในช่วงนี้ คำถามว่าทำไมปฏิทินในเวบ ฯ ค่ำแรมวันพระไม่ตรงกับที่อื่น ๆ หรือปฏิทินร้อยปีที่เป็นเล่ม มีข้อผิดพลาดหรือเปล่า หลัก ๆ เรื่องนี้ เกี่ยวกับเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2563

ก่อนอื่นต้องทราบเกี่ยวกับเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทยทั้ง 3 แบบดังนี้  ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2561
ล๊อกดาราศาสตร์ เขียนโดยอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว หาดูยากครับ ท่านได้ศึกษาเกณฑ์คำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตรแลมานัตต์และคัมภีร์อื่นๆจนแตกฉานใช้เวลา 11 ปี จึงสามารถทำให้คำนวณสมผุสพระเคราะห์ทุกดวง ทุกวันได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทำล๊อกดาราศาสตร์ขึ้นมา

ล๊อกดาราศาสตร์ที่มีตีพิมพ์ จะมี 2 เล่ม ขั้นต้น ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2561
☉ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น คือเวลาที่มองเห็นขอบบนของดวงอาทิตย์ (Upper Limb) แตะกับเส้นขอบฟ้า (Horizon) เป็นตำแหน่งที่สามารถสังเกตการณ์มองเห็นได้ (Apparent Position) แต่ตำแหน่งดวงอาทิตย์จริง ๆ ขณะนั้น (Actual Position) จะอยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า ประมาณ 50 ลิปดาเสมอ เหตุเกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561
Leo (Constellation)  กลุ่มดาวสิงโต, กลุ่มดาวสิงห์,ก ลุ่มดาวราศีสิงห์ 

11 April 2018 , 09:35PM (UTC+07:00) Kanchanadit, Surat Thani, THAILAND. , Middle Sky.

เมื่อคืนไม่มีฝน ฟ้าเปิดดาวเต็มฟ้า นั่งดูส่องกล้องไปเรื่อย ก่อนนอนดาวสิงโตอยู่กลางฟ้าพอดีเลยเอากล้องมาถ่ายรูปไว้ด้วย ... อ่านต่อ
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561
ดวงเลข 7 ตัว ลายมือคุณตาที่ผมคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก ท่านเขียนแค่นี้ ท่านใช้เลข 7 ตัว 4 ฐาน ฉัตร 3 ชั้น มหาทักษา ตำราห่วง ยามต่าง ๆ

ท่านมีเขียนตารางเลข 7 ตัว ซึ่งวิธีลงคล้ายกราฟชีวิตมีวิธีอ่านตำแหน่งเฉพาะ ... อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2560


นางสุวรรณมาลี สอนสินสมุทรและนางอรุณรัศมีดูดาว

พระชนนีชี้ชวนชมดารา .... ให้หลานยาลูกรักรู้จักไว้
ดูโน่นแน่แม่อรุณรัศมี ... ตรงมือชี้ดาวเต่านั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ... ดาวลูกไก่เคียงอยู่เป็นหมู่กัน ... อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560


เปรียบเทียบเส้นแบ่งจักรราศี ระบบดาราศาสตร์ และที่ใช้ในระบบโหราศาสตร์

☉ ระบบดาราศาสตร์ (Astronomical) ท้องฟ้าจริง แบ่งกลุ่มดาว (Constellation) มีทั้งหมด 88 เฉพาะกลุ่ม กลุ่มดาวบริเวณเส้นสุริยวิถี ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2556
วันนี้บทความสั้น ๆ ไม่เกี่ยวกับดูดวง เล่าสู่กันฟังครับ ผมเองประสบปัญหาเรื่องเวบช้ามาหลายครั้งหลายครา พยายามแก้ในทางเทคนิคในเครื่องตั้งแต่ Compression ,Cache ปรับโค๊ดแยกโค๊ด Flat File สารพัดเทคนิคก็ได้ระดับนึง แล้วก็แยกเครื่อง แยกเวบ แยก Subdomain ก็เร็วขึ้น แต่โดยรวมก็ยังช้าอยู่ เมื่อเทียบกับเวบใหญ่ ... อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2554
ของคุยเรื่องคำถามนึงที่ผู้ใช้เวบถามกันมาหรือแนะนำกันมาบ่อย ๆ เนื่องจากภายในเวบไซต์ มีส่วนนึงที่ในการใช้บริการหรือใช้งานมีการชำระเงินหรือเติมเครดิต โดยช่องทางที่รับตอนนนี้ก็มีผ่านธนาการโดยการโอนเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอทีเอ็ม ตู้ฝากเงินสด ผ่านเค้าเตอร์ที่สาขา หรือทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ก่อนหน้านี้ช่วง มกราคม พ.ศ.2554 หลังจากเปิดปีใหม่ เว็บไซต์ซึ่งเดิมเช่าใช้แบบ วีพีเอสโฮสติ้ง ซึ่งมีระบบเป็นของตัวเองแต่ก็ยังอยู่บนทรัพยากร แรม ซีพียู ที่ใช้ร่วมกันกับผู้เช่าท่านอื่น ๆ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2554 เป็นวันที่วีพีเอสโฮสติ้งทำงานหนักมาก ๆ ผมรีโมทเข้าไปดูระบบแรม ซีพียู ถูกใช้ 100% ค้างตลอด ซึ่งช่วงนั้นจะเข้าเว็บไซต์ได้ช้ามาก ... อ่านต่อ
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553
 
สวัสดีครับ ช่วงนี้มายโหรา.คอม คงไม่ได้อัปเดตอะไรมาก มีพัฒนาในส่วนของการพิมพ์หรือบันทึกผลการทำนาย ซึ่งต้องบอกว่าที่ผ่านมาลองพัฒนาหลาย ๆ วิธี ขอบันทึกไว้สักหน่อยถึงความยากลำบาก

ในระบบการพิมพ์ข้อมูลผ่านเวบ หรือนำข้อมูลที่แสดงผ่านเวบบราวเซอร์ ซึ่งจริง ๆ ก็ทราบกันดีกว่า สำหรับ อินเตอร์เน็ต ... อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2552
มายโหรา.คอม เป็นเว็บไซต์ ให้บริการด้านโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ และบริการดูดวง มีข้อมูลหลากหลายและครบถ้วนที่สุด เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2552 ภายในเว็บไซต์ เน้นดูดวงด้วยศาสตร์การดูดวงหรือโหราศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณของไทย ผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก พัฒนาระบบพยากรณ์เผยแพร่วิชา เผยแพร่เครื่องมือโหราศาสตร์สู่สาธารณะให้ทุกคนเข้าถึงได้ ... อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2566
วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566
วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2566
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2566
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2566
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2566
วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2566
วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2566
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ.2566
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2565
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2565
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2565
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2565
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2565
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2564
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2564
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2564
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2563
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2563
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563
วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ.2563
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563
วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2563
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2562
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2562
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2562
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2562
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2562
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2561
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2561
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2561
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2560
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2556
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2552