ปฏิทินดาราศาสตร์ (Ephemeris) ปฏิทินโหราศาสตร์ สายนะวิธี ชุดนี้ คำนวณสมผุสดาว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2300 - 2700 และเนื่องจากความแตกต่างกันของปฏิทินดาราศาสตร์ แต่ละชุดหรือแต่ละเล่ม ได้ทราบถึงที่มาที่ไป ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ และเพื่อให้การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุด จึงสรุปหมายเหตุเป็นข้อ ๆ ดังนี้
[1] ปฏิทินดาราศาสตร์ชุดนี้ คำนวณตำแหน่งดาวตามระบบดาราศาสตร์ สายนะวิธี (Tropical Zodiac / Movable Zodiac) คำนวณสมผุส ณ เวลา 07:00น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00)
เวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2463 เป็นต้นมา ก่อนหน้านี้ใช้เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) เป็นเวลามาตรฐาน ดังนั้นการวางลัคนาสำหรับผู้ที่เกิดก่อน 1 เมษายน พ.ศ.2463 ซึ่งช่วงนั้นยังใช้เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ เดิม เป็นเวลามาตรฐานประเทศไทยอยู่ ก่อนผูกดวงชะตาหรือวางลัคนาต้องปรับเวลามาตรฐาน โดยบวกเพิ่มเวลาท้องถิ่น บวกด้วย 18 นาที (เวลา 18 นาที เป็นส่วนต่างเวลา ของ จ.กรุงเทพฯ และ จ.อุบลราชธานี คำนวณตามลองจิจูด)
[2] ช่วงเวลาย้ายราศี ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ทุก ๆ ดวง รวมถึงปัจจัยยูเรเนียน ในปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ คำนวณราศีทุกนาที ตั้งแต่ 00.00น.-24.00น. (1,440 นาที) ของแต่ละวัน ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) นำผลเปรียบเทียบนาทีต่อนาที เพื่อหาเวลานาทีย้ายราศีจริง
[3] พระเคราะห์โคจรวิปริต พักร์ (Retrograde : R) พระเคราะห์โคจรถอยหลัง , มณฑ์ (Stationary : S) พระเคราะห์โคจรช้ากว่าปรกติ เกิดช่วงก่อนและหลังพักร์ และ เสริต (Direct : D) พระเคราะห์โคจรเร็วกว่าปรกติ , ผลพระเคราะห์โคจรวิปริตในปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ การโคจรวิปริตพักร์ พิจารณาองศา ความเร็ว ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้า ส่วน มณฑ์ เสริต พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วการโคจรกับค่าความเร็วเฉลี่ยต่อวัน , หากใช้การโคจรวิปริตของพระเคราะห์ ให้ดู , หากใช้การโคจรวิปริตของพระเคราะห์ ให้ดู
การโคจรวิปริต หรือ
กราฟดาว ประกอบ ว่าการโคจรวิปริตรอบนั้น ๆ อยู่ช่วงเริ่มต้นหรือใกล้สิ้นสุด เพื่อพิจารณาเลือกใช้ได้เหมาะสม
[4] การคำนวณตำแหน่งหรือสมผุสดาว ในระบบโหราศาสตร์แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ "นิรายนะ" (Sidereal Zodiac) และ "สายนะ" (Tropical Zodiac) ทั้ง 2 ระบบแตกต่างตรงจุดเริ่มราศีจะไม่ตรงกัน , สันนิษฐานว่าเดิมทีทั้ง 2 ระบบจุดเริ่มราศีเมษตำแหน่งเดียวกัน ใช้ดาวจิตตรา (Spica/รวงข้าว) หรือจุดศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) 180° กำหนดเล็งจุดเมษหรือวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) 0°
เหตุเนื่องจากแกนโลกที่หมุนเอียงและเหวี่ยง (Precession) ตลอดเวลาทำให้จุดเมษหรือวสันตวิษุวัตเปลี่ยน มุมมองตำแหน่งดาวจริงเที่ยบกับดาวฤกษ์ท้องฟ้าที่เห็นเปลี่ยนไป แนวคิดระบบนิรายนะใช้ตำแหน่งอ้างอิงดาวฤกษ์แบบเดิม ส่วนระบบสายนะใช้ตามท้องฟ้าหรือจุดเมษที่เปลี่ยนไป ประมาณ 1 องศาทุก ๆ 72 ปี (ปีละประมาณ 50 พิลิปดา) ดังนั้นดาวดวงเดียวกันตำแหน่งเดียวกันบนฟ้าแต่การอ่าน องศา ราศี ทั้ง 2 ระบบผลต่างกัน โดยองศาระยะห่างเท่ากับค่าอายนางศะ (Precession) ซึ่งปัจจุบันอายนางศะ (ลาหิรี) ประมาณ 23 - 24° แต่ละวันจะเพิ่มวันละนิด , ระบบนิรายนะ อาทิตย์จะย้ายราศีประมาณวันที่ 13 - 17 ของแต่ละเดือน ใช้ในโหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์พระเวท หรือทางอินเดีย ส่วนระบบสายนะ อาทิตย์จะย้ายราศีประมาณวันที่ 21 - 22 ของแต่ละเดือน ใช้ในโหราศาสตร์สากล (Classical/Traditional Astrology) โหราศาสตร์ยูเรเนียน (Uranian Astrology)
[5] กฎเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย การนับปีนักษัตร ปีศักราช ข้อกำหนดต่าง ๆ ดู
หมายเหตุปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2557