บทความ การเปลี่ยนปีนักษัตร

ดูดวงส่วนตัวทางโทรศัพท์

โหราพยากรณ์

การเปลี่ยนปีนักษัตรมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ (ช่วงเวลาเปลี่ยนปีนักษัตรตามสูติบัตร จะไม่ตรงกันกับแบบคติพราหมณ์) ,

เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันสังขารล่อง หรือวันสงกรานต์ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรแบบจีน ซึ่งเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่วันสารทลิบชุน/วันตรุษจีนตามปฏิทินจันทรคติจีน หรือปฏิทินจีน , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร เป็นต้น

ใช้ปีนักษัตรแบบใด ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำการใด เช่น พยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย จะใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ คือเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์แบบจีน ก็ควรต้องใช้ปีนักษัตรแบบจีนเป็นต้น

วันนี้เขียนเพิ่มเติมและแยกบทความเกี่ยวกับนับเปลี่ยนปีนักษัตร ... ใกล้ ๆ สิ้นปีหรือต้นปีผมมักจะได้รับอีเมลถามมาบ่อย ๆ เกี่ยวกับปีนักษัตร หลาย ๆ ท่าน ไม่เข้าใจเงื่อนไขตรงนี้ จริง ๆ เรื่องนี้มีหลายแนวทาง หลายแบบ ขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ ตำราที่ยึดถือ บอกไว้อย่างไรผมอธิบายเพิ่มเติมจาก แนบท้ายปฏิทินจันทรคติในเวบไซต์นี้ ขอเขียนแบบ ถาม-ตอบ เพราะสรุปใจความได้ง่าย ขึ้นต้นคำถามว่า "ทำไม" ในหลาย ๆ แง่มุม แล้วอธิบายในรายละเอียดนะครับ

ทำไมจึงใช้ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร ?

1. ใช้ตามข้อกำหนดตำราซึ่งตำราหลัก ๆ เช่น ตำราเลข 7 ตัว , กราฟชีวิต , พยากรณ์บุคคลตามปีนักษัตรเกิด ซึ่งจะใช้ปีนักษัตรตั้งต้นในการทำนาย

2. นักพยากรณ์ส่วนใหญ่จะปีนักษัตรใช้แบบนี้เป็นหลัก ใช้ตำราเก่าก็ต้องอ้างอิงใช้วันเดือนปีปฏิทินจันทรคติและนักษัตรแบบเก่าด้วย ถ้าปฏิทินเปลี่ยนก็ต้องเทียบหาวันที่ถูกต้องมาตั้งต้นเพื่ทำนาย

3. โหราศาสตร์แบบไทยที่ใช้ปีนักษัตรได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อินเดีย ซึ่งวันขึ้นปีใหม่ฮินดู จะตรงกับ/หรือใกล้เคียงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕), เช่น ลองค้นหาคำว่า "Hindu New Year 2012","Hindi New Year 2012"จะตรงกับ วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม 2012 หรือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) (วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2555) ปีอื่น ๆ ก็ใกล้เคียงกัน อาจแตกต่างกันวันหนึ่ง

4. ตามหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่ (๔) มีงานพระราชพิธีวันสัมพัจฉรฉินท์ หรือวันตรุษไทย(วันสิ้นปี) วันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ก็จะเริ่มปีนักษัตรใหม่ ปีใหม่ไทยแบบโบราณ

บางส่วนของ หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน หน้า 211 , 212 , 213 , 214 , 215 , 216 , 217 , 218 , 219 , 220 , 221 และหน้า 222 (ผมมีเก็บไว้เล่มหนึ่ง หน้าอื่น ๆ ถ้าอยากดูก็ขอมาได้ครับ)

ทำไมไม่ใช้ วันสงกรานต์ หรือวันอื่น ๆ ในช่วงเดือนเมษายน เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร ?

ถ้าพูดถึงวันสงกรานต์ตามโบราณต้องพูดถึง วันมหาสงกรานต์ , วันเนา และวันเถลิงศก วันสงกรานต์ ปัจจุบันเพื่อให้ง่ายในการจดจำและเทียบเคียงปฏิทินสุริยคติจึงกำหนดให้คงที่ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนแทน

วันมหาสงกรานต์ ,เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เปลี่ยนเข้าสู่ราศีเมษ(0 องศา 0 ลิปดา) จากการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งใช้คำนวณตำแหน่งดาวใช้ตั้งต้นเป็นปฏิทินโหราศาสตร์ในการผูกดวงวางลัคนา

วิชาโหราศาสตร์ไทยหลัก ๆ จะเน้นการคำนวณตำแหน่งดาว ราศีและฤกษ์ ไม่พูดถึงปีนักษัตร ส่วนดิถีในโหราศาสตร์ไทยจากการคำนวณจะเป็นดิถีโหร แตกต่างจากดิถีค่ำแรมจันทรติไทย , คัมภีร์สุริยยาตร์ใช้คำนวณสอบทานปฏิทินจันทรคติ การวางเกณฑ์อธิมาส อธิกวาร และตามตำรานักษัตรเดิมนั้น เคยผูกอ้างอิงปีชวดช่วงดาวพฤหัสบดีย้ายราศี *

ตามประวัติศาสตร์ เอกสาร พงศาวดารที่มีการบันทึกวันเดือนปี จะบันทึกวันเดือนปีนักษัตรนับวันจันทรคติเป็นหลัก วิชาโหราศาสตร์คัมภีร์สุริยยาตร์ เกณฑ์การคำนวณ วันมหาสงกรานต์ วันเถลิงศก เพิ่งมีแผยแพร่หลังสมัยสุโขทัย

* ตามตำรานักษัตรเดิมนั้น เคยผูกอ้างอิงปีชวดตอนดาวพฤหัสบดีย้ายราศี ในสมัยพุทธกาลจะเริ่มต้นปีชวดที่ราศีพฤษภ สมัยกรุงศรีอยุธยาจากตำราพราหมณ์ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้ทางหอพระสมุดทำการชำระ จะได้เริ่มต้นปีนักษัตรชวด ที่ ราศีสิงห์ พอเข้าสู่ยุคเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็จะเริ่มต้นปีนักษัตรชวดที่ราศีธนู พวกที่เห็นแต่ในตำราชั้นหลัง จึงท่องเอาแต่ว่า เริ่มปีชวดที่ราศีธนู ซึ่งในปัจจุบันเริ่มคลาดเคลื่อนบ้างแล้วประมาณครึ่งราศี เพราะดาวพฤหัสบดีมีอัตราโคจรพักร์มณฑ์ เสริดสะสม โดยช่วงปัจจุบันนักษัตรปีชวดจะคร่อมระหว่างราศีธนูและราศีมกร : เรียบเรียงจากความเห็น คุณแย้ง / payakorn.com

ทำไมไม่ใช้ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑) , วันขึ้นปีใหม่ หรือ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร ?

วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑) สมัยสุโขทัย โบราณใช้เป็นวันเปลี่ยนปีของมหาศักราช(ม.ศ.) หรือปีใหม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความถึงเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ตามคติพราหมณ์ วันขึ้นปีใหม่ปัจจุบันดูเหมือนเป็นเรื่องการปกครอง ซึ่งอาจให้ง่ายในการจดจำตามสมัย และตามสากลประเทศ วันขึ้นปีใหม่ของไทยเองก็มีเปลี่ยนหลายครั้ง

เช่น ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)ปี พ.ศ.2432 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน

และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม เริ่มใช้เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา (พ.ศ.2432 ประเทศไทยเริ่มใช้ ปฏิทินสุริยคติ แทนปฏิทินจันทรคติเป็นทางการ)

ดังนั้นถ้าพูดถึงตำราที่ใช้ปีนักษัตรตั้งต้นตามคติพราหมณ์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการปกครองก็ควรต้องยึด เทียบเคียงใช้ตามข้อกำหนดตำราแบบเก่า ใช้ตำราเก่าก็ต้องใช้วันเดือนปีปฏิทินจันทรคติแบบเก่าด้วย

เพราะถ้าไม่ยึดถืออย่างนี้ สมมุติว่าประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 พฤษภาคม และทุกคนเข้าใจว่าวันเปลี่ยนนักษัตรในวันนี้ ก็จะเกิดความคลาดเคลื่อน เพราะวันปีใหม่ที่กำหนดใหม่ไม่ตรงกับดิถีดาวหรือนักษัตรที่กำหนดแต่โบราณ ถ้าอธิบายเป็นความรู้สึกจะเหมือนรำไทยแต่ใส่ชุดสูท ;) ประมาณนั้น
อ่านไปอ่านมาอาจสับสน อยากให้ แยกแยะระหว่าง วันขึ้นปีใหม่ , วันขึ้นปีใหม่ไทย , วันสงกรานต์ , วันมหาสงกรานต์ และ วันเปลี่ยนปีนักษัตร แยกระหว่างของเก่ากับใหม่ให้ออก และแยกแยะตำราที่ใช้ ก็น่าจะเห็นภาพว่าจะใช้แบบไหน

สำหรับปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร ปฏิทินครูอาจารย์ทั้งสอง จะเน้นปฏิทินโหราศาสตร์หรือดาราศาสตร์ เพื่อผูกดวงโหราศาสตร์ไทยเป็นหลัก มีแสดงปีนักษัตร เป็นส่วนเสริม ซึ่งในการผูกดวงโหราศาสตร์ไทยจะไม่ได้ใช้นักษัตรในส่วนนี้

นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่รูปแบบเป็น ปฏิทินร้อยปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มปีนักษัตร 1 เมษายน เข้าใจว่า ง่ายในการจัดพิมพ์ เพราะปฏิทินร้อยปีในแต่ละหน้า หรือแต่ละหน้าคู่จะแสดงข้อมูลทั้งปี และจะเริ่มที่เดือนเมษายน - มีนาคม ปีถัดไป พิมพ์ปีนักษัตรไว้ด้านบนในแต่ละหน้า ปฏิทินในปัจจุบันก็เช่นกัน เปลี่ยนปี เปลี่ยนเล่ม ก็เปลี่ยนนักษัตรเลยเพราะง่ายในการจัดพิมพ์

ทำไมไม่ใช้วันตรุษจีน หรือ วันสารทลิบชุน เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร ?

พยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย ตำราแบบไทย ก็ควรใช้ปีนักษัตรแบบไทยตามคติพราหมณ์ , พยากรณ์โหราศาสตร์แบบจีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรแบบจีน ตามปฏิทินโหราศาสตร์จีนเพราะตำราการผูกคำทำนายต่างกัน (โหราศาสตร์แบบไทยไม่มีทำนายเรื่อง ปีชง) และปีนักษัตรจีนเองก็มีใช้อยู่ 2 แบบตัดรอบปีนักษัตรใน วันสารทลิบชุน (ปฏิทินโหราศาสตร์จีนออนไลน์นี้จะใช้กฏเกณฑ์แบบดั้งเดิม จะเปลี่ยนในวันสารทลิบชุน) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี ประมาณช่วงวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ และมีบางตำราใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนนักษัตร

ทำไมปีนักษัตรในสูติบัตร จึงไม่ตรงกับปีนักษัตร ตอนดูดวงชะตา ?

สูติบัตรเป็นเอกสารทางราชการเพียงอย่างเดียว ที่มีบันทึกวันเกิดแบบจันทรคติ โดยใช้เปลี่ยนปีนักษัตร วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑)* ซึ่งไม่ตรงกับ ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ ที่เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามโบราณ และปีนักษัตรในสูติบัตรเองก็ไม่ถูกใช้ที่ไหนเลย แทบไม่มีแบบฟอร์มราชการหรือเอกชนที่ไหนให้กรอกว่า เกิดกี่ค่ำ เดือน ปีนักษัตรอะไร เวลากี่โมงกี่ยาม เว้นแต่ตอนดูดวง ทางโหราศาสตร์ พิธีกรรม เท่านั้น

บ่อยครั้งตอนดูดวง หมอดูจะถาม วันเดือนปี เวลาเกิด ทางสุริยคติสากลที่มีบันทึกในสูติบัตร แล้วนำมาเทียบในปฏิทินจันทรคติให้เอง คือ ไม่ใช้ ปีนักษัตรจากสูติบัตร ซึ่งก็ไม่แปลกที่นักษัตรตั้งต้นทำนายไม่ตรงกับสูติบัตร หรือที่เราเข้าใจ และหมอดูหรือนักพยากรณ์มักจะไม่อธิบายเพราะเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนใช้เวลาอธิบาย

*ก่อนหน้ามีประกาศ หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 สูติบัตรถูกบันทึกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับส่วนปกครองนั้น ๆ หรือผู้บันทึก ไม่ตรงกัน มีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนนักษัตรใน ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , วันตรุษจีน , วันที่ 1 เมษายน , วันที่ 13 เมษายน หรือ วันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลที่พิมพ์ปัจจุบันก็มี

สำหรับปีนักษัตรก็ประมาณนี้ครับ คำถามเรื่องนี้จะเกิดกับผู้ที่เกิดช่วง เดือนธันวาคม ถึง เดือนเมษายน เพราะเป็นช่วงที่ปีนักษัตรทับซ้อนกัน นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและมักสับสนในการใช้งานกัน คือ การนับวันทางโหราศาสตร์หรือวันทางจันทรคติ ... ดูรายละเอียด

ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : จักรกฤษณ์ แร่ทอง - มายโหรา.คอม
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น
บันทึก/เผยแพร่ : วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
อ่าน ใช้งาน บทความการเปลี่ยนปีนักษัตร 038 แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   4.93 จาก 92 รีวิว
ฤกษ์ออกรถ #year#
ฤกษ์ยามที่ดี ฤกษ์ออกรถใหม่ มีนาคม-เมษายน
คติโหราศาสตร์
ดวงชะตาเป็นเพียงเครื่องชี้บอก แนวทางชีวิต
สีรถถูกโฉลก สีรถประจำวันเกิด
สีรถถูกโฉลก เป็นศิริมงคล ส่งเสริม นำโชค
สีเสื้อประจำวัน สีเสื้อถูกโฉลก
วิธีเลือกสีเสื้อประจําวัน เพื่อเสริมราศี
ดวงพิชัยสงคราม ยันต์พิชัยสงคราม
ยันต์ที่มีความสำคัญมากในโหราศาสตร์ไทย
โหราศาสตร์กับชีวิต
เกิดวันเดียวกัน แต่ชีวิตแตกต่างราวฟ้ากับดิน
วันมหาสงกรานต์
ประเพณีไทยเดิมถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่
ตำนานเทวดามิตรศัตรู
ปฐมเหตุว่าด้วยตำนานเทวดา มิตร ศัตรู
เตรียม 6 ขั้นตอนก่อนดูดวง
ดูดวงกับหมอดู ต้องเตรียมอะไรบ้าง ถามอะไรได้บ้าง
การนับวันทางโหราศาสตร์
การเปลี่ยนวันใหม่ ทางจันทรคติที่ใช้ในโหราศาสตร์
วันขึ้นปีใหม่ของไทย
ครั้งโบราณวันขึ้นปีใหม่ จะกำหนดขึ้นตามความนิยม
ทิศเทวดา ผีหลวง หลาวเหล็ก
ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ทิศเทวดา-เทพเจ้า
ยามอุบากอง
ตำรายามอุบากอง ที่คนรุ่นปู่ย่าตายายรู้จักกันดี
ความเป็นมาประกาศสงกรานต์
ประวัติที่มา ประกาศสงกรานต์ เริ่มมีตั้งแต่สมัยใด
สะเดาะเคราะห์ (พิธีใหญ่)
รับพระเสวยอายุก็ดี จะมาส่งพระเสวยอายุก็ดี
ประวัติดวงเมืองกรุงเทพฯ
กว่า 200 วันเกิดของกรุงรัตนโกสินทร์
ในหลวงกับวิชาโหราศาสตร์
พระราชอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9
ทิศโบราณ 32 ทิศ
ทำความรู้จักทิศโบราณ ชื่อแปลกๆ ทั้ง
ตั้งชื่อ ทักษา
ศาสตร์การตั้งชื่อ ตำราภูมิทักษา ทักษาปกรณ์
ตั้งชื่อ เลขศาสตร์ อายตนะ 6
ตำราตั้งชื่อ มหายตนะ ตำราอายตนะ 6 ทำนายชื่อ
ตั้งชื่อ เลขรหัสชีวิต
ตำรารหัสชีวิต ถอดผลจากเลขศาสตร์ ทำนายสรุป
ตั้งชื่อ อักษรเทพเจ้า ฯ
อักษรเทพเจ้า อักษรหลาวเหล็ก อักษรผีหลวง
วันห้ามต่างๆ ของไทย
วันห้ามตามโบราณ แต่งงาน ขึ้นบ้าน เผาผี
การเปลี่ยนปีนักษัตร
รอบการเปลี่ยนปีนักษัตร ที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ไทย
สิ่งนำโชค 12 ราศี
สิ่งของนำโชคของชาวราศีต่างๆทั้ง 12 ราศี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิดแต่ละวัน ลักษณะ บทสวดมนต์บูชา
เวลามาตรฐานประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา ก่อนที่จะเป็นเวลามาตรฐาน
สะเดาะเคราะห์ (ด้วยตัวเอง)
การแก้เคราะห์กรรมที่ดี ก็ทำได้ไม่ยาก
ทำนายนิสัยตามเวลาเกิด
ดวงยามอัฏฐกาล ทำนายนิสัยใจคอ จากเวลาเกิด
นิมิตเคล็ดลาง เขม่น
ลางเขม่น ตาเขม่น ตากระตุก เปลือกตากระตุก
ประวัติชื่อเดือนไทย
ประวัติชื่อเดือนไทย ชื่อเดือนแต่ละเดือนที่ใช้กัน
ดูลักษณะรูปก้นหอยในนิ้วมือ
รูปก้นหอยในลายนิ้วมือ สัมพันธ์กับ ดวงชะตาอย่างไร
ดูความรักจากการสวมแหวน
ชอบสวมแหวนนิ้วนาง เป็นคนที่อ่อนหวาน
การทำนายราศี ลัคนาราศี
วิธีการอ่านดวงดวงใน นิตยสาร หนังสือพิมพ์
คำถามดูดวงที่ถามบ่อย
คำถามดูดวง ชีวิตเป็นยังไง เมื่อไรจะมีแฟน
ความรักของ 12 นักษัตร
ดวงความรักของผู้ที่เกิด ในแต่ละปีนักษัตร
มารยาทของโหร
มารยาทของโหร ผู้ที่มีอาชีพเป็นหมอดู
อัญมณีแห่งโชคลาภ
อัญมณีเสริมโชคลาภและสิริมงคลเฉพาะบุคคล
ทำนายเลขบัตรประชาชน
เลขรหัสบัตรประจำตัวประชาชนนั้นมี 13
วิธีดูค่ำแรมจากดวงจันทร์
วิธีดูขึ้นแรมค่ำจากดวงจันทร์เบื้องต้น
ทำนายไฝบนใบหน้า
ไฝบนใบหน้าร่างกาย มีความหมายอย่างไร
วันเกิดบอกความเจ้าชู้ได้
รู้หรือไม่ว่า วันเกิดก็สามารถบอกความเจ้าชู้ได้
ดวงหนุ่มสาว 12 ราศี
ทำนายดวง หนุ่มสาวทั้ง 12 ราศี เป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน